ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดขึ้นเนื่องในวาระรำลึก 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้คัดเลือกบุคคลผู้สืบสานปณิธานอาจารย์ป๋วยในแวดวงต่างๆ เพื่อแสดงปาฐกถาต่อสาธารณะในหัวข้อที่สะท้อนถึงความคิด ชีวิต และจิตวิญญาณของอาจารย์ป๋วย
สันติประชาธรรม
รำลึก 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในสังคมไร้สันติประชาธรรม
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องให้ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล
ในวาระพิเศษเช่นนี้ การรำลึกถึงอาจารย์ป๋วยอย่างดีที่สุดคือ การศึกษาความคิดและผลงานของอาจารย์ป๋วย ไม่ใช่กราบไหว้ท่านเหมือนรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ หรือตามแห่แซ่ซ้องสรรเสริญ มัวแต่ “อ้างป๋วย” โดยไม่เคย “อ่านป๋วย” ว่าท่านคิดเขียนอะไรทิ้งไว้ ท่านยึดมั่นอุดมการณ์แบบไหน และมีภาพของสังคมไทยในอุดมคติเป็นเช่นไร
เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยด้านกลับของ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ผมขอชวนทุกท่านมาร่วมกัน “อ่านป๋วย” กันใหม่อีกสักครั้งหนึ่ง เผื่อจะได้เข็มทิศทางจริยธรรมเป็นหลักยึด เก็บเกี่ยวภูมิปัญญาไปคิดต่อยอด และรับแรงบันดาลใจในการต่อสู้เพื่อสังคมไทยในฝัน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน กันต่อไปครับ
แด่อาจารย์ป๋วย – รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริอายุรวม 83 ปี
โลกได้สูญเสียสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ อันหาผู้ใดเสมอด้วยยาก และมิอาจหาผู้ใดทดแทนได้ด้วย
อาจารย์ป๋วยเกิดในตระกูลสามัญชน เติบโตและได้รับการบ่มเพาะเยี่ยงสามัญชน และจบชีวิตอย่างสามัญชน แต่อาจารย์ป๋วยก็แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า วิถีแห่งชีวิตสามัญชนเป็นวิถีที่ยิ่งใหญ่ได้ และเป็นวิถีที่งดงามได้ ความยิ่งใหญ่และความงดงามแห่งชีวิตมิได้ขึ้นอยู่กับชั้นชน มิได้ขึ้นอยู่กับฐานะและตำแหน่งแห่งหนในสังคม และมิได้ขึ้นอยู่กับอภิสิทธิ์ที่ได้รับ หากแต่ขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์
ป๋วยทอล์ค: อ่านใหม่ “ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย”
บทพูดของ ปกป้อง จันวิทย์ เรื่อง “อ่านใหม่…ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย” ในงาน Puey Talk ครั้งที่ 2 “โจทย์ใหม่? ทัศนะว่าด้วยการศึกษา” วันที่ 28 มีนาคม 2558
อ่าน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ พิศผู้หญิงในชีวิตของ ‘สันติวิธี’
สำหรับปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ “พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของสันติวิธี” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวใจสำคัญคือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”
พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของ “สันติวิธี”
ชื่อหนังสือ: พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของ “สันติวิธี”
ผู้เขียน: ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
คณะบรรณาธิการ: ปกป้อง จันวิทย์ สิทธิกร นิพภยะ นภนต์ ภุมมา
ชวนอ่าน:
หัวใจสำคัญของปาฐกถานี้คือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”
ชวนอ่านปกหลัง:
บทบาทที่ดูจะโดดเด่นยิ่งของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจ(ชีวิตของ)สันติวิธี
เรื่องราวชีวิตของผู้หญิงสี่คนคือ Rankin, Sendler, Haidar และวนิดา ทำให้ชีวิตของ “สันติวิธี” เข้มแข็งแต่ว่าอ่อนโยนในเวลาเดียวกัน ฉลาดเฉลียวรู้จักเลี้ยวลดแต่ก็ยืนหยัดมั่นคง และที่สำคัญแวดล้อมอยู่ด้วยวิธีที่มองเห็นชีวิตและ “คนอื่น” แบบหนึ่ง อันเป็นฐานคิดสำคัญของแนวทางสันติวิธี/การไม่ใช้ความรุนแรง
ข้าพเจ้าคิดว่าได้แลเห็นทั้งภาพสี่ภารกิจของการทำงานสันติวิธี และคุณลักษณ์โดดเด่นสี่ประการของสันติวิธี คือ ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การยอมเสียสละ และการให้ความสำคัญกับชีวิตแม้เพียงชีวิตเดียว
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2558
หน้า: 224 หน้า
ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์
ก่อนที่มหาวิทยาลัยเราจะกลายเป็น ‘อธรรมศาสตร์’ ที่ยึดถือหลักอธรรมสัตย์ อธรรมรัฐ อธรรมชาติ และอยุติธรรม อย่าเพิ่งรีบปลงอนิจจัง เรามาช่วยกันรณรงค์ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์ กันดีกว่าครับ