หากคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารเช่นในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการออกแบบระบบความผิดชอบที่เหมาะสม ให้องค์กรอิสระอื่นๆ และสาธารณชนสามารถร่วมตรวจสอบและกำกับการทำงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มากขึ้น เช่น การมีข้อกำหนดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา (ไม่ใช่เฉพาะในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเท่านั้น) การเปิดโอกาสให้มีตัวแทนภาคประชาสังคมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอันเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาในคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น
บทความเศรษฐกิจการเมือง
อ่านกฤษฎีกา: ใครคือคณะกรรมการกฤษฎีกา
บทบัญญัติตามกฎหมายเช่นนี้ทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นศูนย์รวมของอดีตข้าราชการเกษียณและเป็นนักกฎหมายเป็นหลัก กรรมการกฤษฎีกาที่พึงปรารถนาตามกฎหมายคืออดีตข้าราชการที่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ผู้พิพากษาศาลสูง นักวิชาการด้านกฎหมาย และนักยกร่างกฎหมาย ด้วยการที่องค์ประกอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเช่นนี้ จึงมีโอกาสสูงที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีระดับความเป็นอนุรักษนิยมสูง คิดแบบราชการ ยึดติดแบบวิถีของราชการ และมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทยร่วมสมัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากสาขากฎหมายอย่างจำกัด ทั้งที่องค์ความรู้ด้านอื่น เช่น เศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ มีความจำเป็นในการพิจารณาร่างกฎหมาย ยกร่างกฎหมาย หรือให้ความเห็นด้านกฎหมาย
อ่าน กฎหมายว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน
สมเกียรติและคณะ (2550) เสนอข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปกระบวนการเสนอร่างกฎหมายโดยภาคประชาชน โดยมีหลักการเพื่อการลดภาระต้นทุนของภาคประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย และสร้างหลักประกันในการคุ้มครองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้ปรับลดจำนวนขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนผู้ร่วมลงนามเสนอร่างกฎหมายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภา
อ่าน เศรษฐศาสตร์ ผ่าน เดือน บุนนาค
อาจารย์เดือนเป็นผู้มีบทบาทผลักดันให้มีการใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ในฐานะคำแปลของ ‘Economics’ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 และเคยเขียนความเห็นว่า “คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ที่ใช้อยู่ในบัดนี้เป็นคำที่ราชการรับรองแล้ว … และมีความหมายพิเศษ ไม่ใช่ตามตัวอักษร ปัญหาเรื่องศัพท์นี้จึงระงับไป” (เดือน บุนนาค, 2495, เศรษฐศาสตร์ภาคต้น (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 4)
ถึงกระนั้น ในหนังสือเล่มเดียวกัน อาจารย์เดือนได้กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการเลือกใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ไว้ด้วยว่า “แต่ถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นวิชาเกี่ยวกับการหาความร่ำรวย ถ้าเข้าใจตามนี้ ขอบเขตการศึกษาจะแคบมากกว่า และอุดมคติของเศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นการจัดให้กำเนิดผลมากที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด มิใยว่าผู้ทำงานจะได้รับความทุกข์ยากลำบากอย่างไร” แต่ท่านก็ยังไม่เห็นด้วยกับการใช้คำอื่นแทนคำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ เช่น ทรัพยศาสตร์ เพราะ “ทรัพย์เป็นสิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์ แต่การที่จะได้ทรัพย์นั้นมา อาจทำให้คนอื่นๆ เดือดร้อน คำว่า ‘ทรัพยศาสตร์’ จึงยังไม่เหมาะสมแท้”
อ่าน ทวี หมื่นนิกร ผ่าน “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง”
ชื่อของหนังสือ “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” เล่มนี้ เป็นประโยคที่สะท้อนแก่นความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของทวี หมื่นนิกร ได้อย่างดีที่สุด สำหรับผู้สนใจเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทของสังคมเศรษฐกิจไทย ผลงานเขียนของทวี หมื่นนิกร เป็นงานที่มิอาจผ่านเลย
อ่าน มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
หนังสือ Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries (2005, Edward Elgar) บรรณาธิการโดย เจอราลด์ เอ็บสตีน (Gerald Epstein) มีลักษณะ ‘มาก่อนกาล’ คือถูกเขียนขึ้นในช่วงที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังมองมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในแง่ร้าย (อย่างดีก็เป็น ‘ปีศาจที่จำเป็น’) ในช่วงหลายปีก่อนเกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก ซึ่งในเวลานั้น ผู้คนยังไม่ตั้งคำถามต่อระบบโลกาภิวัตน์ทางการเงินที่มีลักษณะเสรีสุดขั้ว แตกต่างจากปัจจุบัน
ผู้สนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศคงได้แง่คิดอีกมุมหนึ่ง และเปิดมุมมองใหม่หลายเรื่องเกี่ยวกับ Capital Controls และ Capital Flight จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ หลายประเด็นเป็นคำทำนายที่ ณ วันนั้นไม่มีใครฟัง แต่เกิดขึ้นจริงในเศรษฐกิจโลก ณ วันนี้
อ่าน ซัมโปะ จอมคนแห่งขุนเขา
ซัมโปะเป็นการ์ตูนแบบจบในตอนที่กินใจ เนื้อเรื่องแปลกใหม่ และดำเนินเรื่องอย่างมีจังหวะจะโคนสนุกสนาน อ่านแล้วได้อารมณ์เหมือนกำลังอ่านเรื่องสั้นชั้นดีและดูหนังสั้นรสอร่อยผสมๆ กัน เพราะเด่นทั้งเนื้อหาและเทคนิคการเล่าเรื่องด้วยภาพ ผู้เขียนบอกเล่าเรื่องราวที่ตนรู้จริงและรู้สึกจริง เนื่องจากตัวเองก็เป็นนักปีนเขาตัวยงด้วย จึงสามารถถ่ายทอดโลกแห่งขุนเขาเป็นนิยายภาพอย่างกลมกล่อม สร้างบรรยากาศได้สมจริง ทั้งยังสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการปีนเขาไว้อย่างลงตัว
อ่าน เส้นทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย … ผ่าน เสนาะ อูนากูล
หนังสือ อัตชีวประวัติและงานของเสนาะ อูนากูล มิได้บอกเล่าถึงชีวิตของ ดร.เสนาะ อูนากูล เพียงเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าถึงชีวิตของเทคโนแครตไทย เศรษฐกิจไทย และเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี พ.ศ.2504-2535 จากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ผ่านสายตาของตัวละครคนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่าง ดร.เสนาะ อูนากูล เทคโนแครตคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ‘ยุคทอง’ ของเทคโนแครต ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติภูมิและคุณธรรมในฐานะข้าราชการ
มุมมองต่อธุรกิจหนังสือไทย
หากพิจารณาเพียงผิวเผิน หนังสือก็เป็นสินค้าประเภทหนึ่ง แต่แท้ที่จริง หนังสือมีความแตกต่างจากสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไปตรงที่เป็นสินค้าที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและปัญญา หนังสือดีมีมูลค่าใช้สอยที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่ว่าไม่ได้ตกอยู่กับตัวคนอ่านเองเท่านั้น แต่สร้างประโยชน์ต่อสังคมอีกทอดหนึ่งด้วย
เมื่อผู้คนในสังคมอ่านหนังสือมาก ฉลาดรอบรู้ขึ้นมาก คน – ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะแรงงาน ผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้กำหนดนโยบาย หรือพลเมือง – ก็มีคุณภาพมากขึ้น สังคมย่อมมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างผลกระทบภายนอกต่อสังคมในด้านบวก (Positive Externality) ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่การผลิตหรือการบริโภคไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะต่อตัวผู้ผลิตหรือผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่สังคมส่วนรวมได้ประโยชน์ด้วยพร้อมกัน
บางคนอาจจะไม่ได้มองหนังสือเป็นแค่สินค้าเพื่อการบริโภคด้วยซ้ำ แต่มองการซื้อหนังสือเหมือนเป็น “การลงทุน” เพราะการอ่านหนังสือช่วยให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น เป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทำให้เราเก่งขึ้น มีฝีมือขึ้น ซึ่งช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้ตัวคนอ่านในอนาคตได้ด้วย
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร?
เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน? เรายอมรับเศรษฐกิจดังที่แสดงข้อมูลข้างต้นได้หรือไม่? หากไม่ – เราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร?
หากสังคมเศรษฐกิจไทยไม่ช่วยกันตอบโจทย์โหดหินนี้อย่างจริงจัง วิกฤตในช่วงครึ่งทศวรรษหลังที่ผ่านมาคงเป็นเพียงบทโหมโรงของวิกฤตอันหนักหนาสาหัสกว่า ซึ่งกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า