ทุกครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณโฆสิต ไม่ว่าครั้งสัมภาษณ์ยาว ในเวทีสัมมนา หรือในห้องประชุม ผมไม่เคยรู้สึกเลยว่าคุณโฆสิตเป็นนายแบงก์หรือนักธุรกิจเอกชน แต่สัมผัสได้ถึงความเป็น “เทคโนแครต” ตัวจริงเสียงจริง ผู้สนใจเรื่องการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และการรับมือกับโจทย์ปัญหาระยะยาว
การพัฒนาเศรษฐกิจ
สนทนากับ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในวาระ 30 ปี ทีดีอาร์ไอ
จับเข่าคุยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจไทยกับ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย
ผู้สัมภาษณ์: ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
รวมบทสัมภาษณ์ว่าด้วยบทเรียนจากอดีตและความท้าทายแห่งอนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย จากคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหารทีดีอาร์ไอหลายยุคสมัย
อ่านมุมมองของ อานันท์ ปันยารชุน เสนาะ อูนากูล อาณัติ อาภาภิรม ไพจิตร เอื้อทวีกุล อัมมาร สยามวาลา โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วีรพงษ์ รามางกูร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นิพนธ์ พัวพงศกร และสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2557
หน้า: 256 หน้า
15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน – อัมมาร สยามวาลา
ในวาระครบรอบ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน อัมมาร สยามวาลา เขียนประวัติศาสตร์วิกฤตต้มยำกุ้ง และตอบคำถามว่า 15 ปี ผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทย ไล่เรียงตั้งแต่สถาบันการเงิน ภาคเศรษฐกิจจริง ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาครัฐไทย นักการเมือง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จนถึงประชาชนคนเดินถนนทั่วไป เรียนรู้อะไร และปรับตัวอย่างไรหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ
อ่าน เส้นทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย … ผ่าน เสนาะ อูนากูล
หนังสือ อัตชีวประวัติและงานของเสนาะ อูนากูล มิได้บอกเล่าถึงชีวิตของ ดร.เสนาะ อูนากูล เพียงเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าถึงชีวิตของเทคโนแครตไทย เศรษฐกิจไทย และเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี พ.ศ.2504-2535 จากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ผ่านสายตาของตัวละครคนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่าง ดร.เสนาะ อูนากูล เทคโนแครตคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ‘ยุคทอง’ ของเทคโนแครต ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติภูมิและคุณธรรมในฐานะข้าราชการ
ไอเอ็มเอฟกับมาตรการควบคุมทุน
ไอเอ็มเอฟยืนอยู่ข้างฝ่ายสนับสนุนการเปิดเสรีการเงินและต่อต้านมาตรการควบคุมทุนอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกระทั่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หมุดหมายสำคัญในสายธารแห่งการถกเถียงเรื่องการเปิดเสรีการเงินก็ถูกปักลง เมื่อไอเอ็มเอฟตีพิมพ์ ‘บันทึกจุดยืนของทีมเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟ’ (IMF Staff Position Note) ซึ่งมีเนื้อหาหลักดังที่หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลพาดหัวข่าวในเวลาต่อมาว่า “ไอเอ็มเอฟแนะนำให้ประเทศเศรษฐกิจใหม่ใช้มาตรการควบคุมทุน”
ในบันทึกฉบับนั้น ไอเอ็มเอฟยอมรับว่า มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ “มาตรการควบคุมทุน” (Capital Controls) ควรถูกนับรวมเป็นหนึ่งใน ‘ชุดเครื่องมือ’ อัน ‘ชอบธรรม’ ที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่สามารถหยิบมาใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ เฉกเช่นเดียวกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ และการกำกับดูแลระบบการเงินภายในประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์ให้การยอมรับเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว
ท่าทีดังกล่าวถือเป็นการ ‘กลับหลังหัน’ ด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศของไอเอ็มเอฟครั้งสำคัญ เพราะแต่เดิมมีทีท่าปฏิเสธมาตรการควบคุมทุนอย่างแข็งขันมาโดยตลอด
เศรษฐกิจไทย ไร้ผู้ประกอบการ?
ผมนึกถึงการแสดงปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ เรื่อง พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลาง ของ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน อาจารย์นิพนธ์กล่าวถึงงานศึกษาหลายชิ้นที่เชื่อว่า ชนชั้นกลางเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการ เพราะมีระบบคุณค่าที่นิยมการออม มีแนวโน้มที่จะนำเงินออมไปลงทุน รวมถึงให้คุณค่ากับการลงทุนด้านการศึกษา ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
ในปาฐกถาครั้งนั้น อาจารย์นิพนธ์ตั้งคำถามที่น่าสนใจต่อว่า แล้วชนชั้นกลางไทยเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการด้วยหรือไม่? คำตอบที่อาจารย์นิพนธ์ได้จากการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจไทยคือ ชนชั้นกลางไทยอาจไม่ใช่แหล่งกำเนิดของผู้ประกอบการ เพราะ “งานที่ดี” ของชนชั้นกลางไทยคือ การเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ใช่การประกอบอาชีพอิสระและการมีกิจการเป็นของตัวเองโดยรับบทเป็นนายจ้างเสียเอง