Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

เศรษฐกิจใหม่

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจอเมริกาในขณะนี้คือ ปัญหาการว่างงาน อัตราการว่างงานสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนตุลาคม 2008 ตำแหน่งงานหายไปจากเศรษฐกิจอเมริกา 10 เดือนรวด รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านตำแหน่ง เฉพาะเดือนตุลาคม 2008 งานหายไป 240,000 ตำแหน่ง คาดว่าในขณะนี้ คนว่างงานในอเมริกาสูงถึงหลัก 10 ล้านคน

หากคนไม่มีงานทำ อำนาจซื้อในระบบเศรษฐกิจก็หดหาย เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวได้ยาก และเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อลูกหนี้สูญเสียความสามารถในการชำระหนี้ ก็เข้าสู่ภาวะหนี้ท่วมหัว อาจถูกยึดบ้าน ถูกฟ้องล้มละลาย และสถาบันการเงินก็ประสบปัญหาหนี้เสียและขาดทุน บั่นทอนความสามารถในการปล่อยกู้ให้ภาคเศรษฐกิจจริง ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปอุ้ม

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องอิรัก

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเด็นที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ ก็คือ ปฏิบัติการทางการทหารในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงหนึ่งปีให้หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลบุชต้องการทำสงครามกับอิรัก เพื่อล้มล้างระบอบซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งรัฐบาลบุชขนานนามว่าเป็นระบอบทรราชย์ที่เป็นภัยคุกคามต่ออเมริกาและต่อโลก โดยอ้างว่า อิรักได้พัฒนาอาวุธทำลายล้างรุนแรง (WMD – Weapons of Mass Destruction) ให้การสนับสนุนองค์กรก่อการร้าย และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโหดร้าย รวมถึงเคยพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีบุชผู้พ่อด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องคนย้ายถิ่น

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

หากวิเคราะห์จุดยืนพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการย้ายถิ่นของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า นโยบายของแม็คแคนและโอบามา (รวมถึงคลินตัน) ไม่ต่างกันมาก ทุกคนต่างให้การสนับสนุนการปฏิรูประบบจัดการการย้ายถิ่นตามแนวทางของร่างกฎหมายปี 2006 ซึ่งก็คือการสนับสนุนนโยบายสร้างรั้วกั้นแนวพรมแดนทางใต้ สนับสนุนการสร้าง ‘ทาง’ ให้คนย้ายถิ่นที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมายก้าวสู่การเป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัวได้ และการเปิดช่องให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในระบบแรงงานรับเชิญ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การย้ายถิ่น, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องขุดน้ำมัน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ด้วยราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไม่หยุด จนแตะระดับ 135 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปี 2551 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงปลุกผีการขุดเจาะหาน้ำมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยเสนอให้รัฐสภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการห้ามขุดเจาะน้ำมันในทะเล ปี 1981 และมีแนวคิดที่จะยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Orders) ที่ห้ามขุดเจาะน้ำมันปี 1990 รวมถึงเสนอให้อนุญาตให้ขุดหาน้ำมันในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและคุ้มครองสัตว์ป่าได้ด้วย โดยอ้างว่าหากค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่จะช่วยทำให้ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาลดลง เป็นการบรรเทาภาระของประชาชน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องโลกร้อน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

จุดใหญ่ใจความของเรื่องนี้อยู่ตรงบทบาทและท่าทีของรัฐบาลในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมนี่เองว่า รัฐบาลควรจะเข้ามาจำกัดควบคุมการผลิตของภาคเอกชนเพียงใด หากปล่อยให้เอกชนตัดสินใจผลิตตามกลไกตลาดเพื่อกำไรสูงสุด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมย่อมมีมากขึ้นเกินระดับที่เหมาะสม เพราะการผลิตสินค้าก่อให้เกิดต้นทุนต่อสังคม (Social Cost) เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาโลกร้อน ซึ่งผู้ผลิตในตลาดไม่คำนึงต้นทุนดังกล่าว เพราะสนใจเฉพาะต้นทุนที่ตกกับตัวเอง (Private Cost) เท่านั้น หากต้องการลดต้นทุนต่อสังคมลง รัฐบาลก็ต้องเข้ามาแทรกแซงความล้มเหลวของตลาดในส่วนนี้ โดยการจำกัดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น แม้อาจจะทำให้ต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น แต่ก็ช่วยลดต้นทุนต่อสังคมจากการผลิตลง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องเงิน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

เห็นการเมืองสหรัฐอเมริกา หันมองการเมืองไทยแล้วอดคิดไม่ได้ว่า หากการเมืองไทยเข้าสู่ยุคที่ประชาชนช่วยกันบริจาคเงินให้แก่ผู้สมัครที่ตนชื่นชอบคนละเล็กละน้อย และมีกฎกติกาเกี่ยวกับการรับเงินและการใช้เงินในการหาเสียงที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับสภาพความจริง คงมีส่วนสำคัญในการยกระดับการเมืองไทยให้พ้นไปจากการพึ่งพิงเงินตราจากมหาเศรษฐี กลุ่มทุนใหญ่ หัวหน้ามุ้ง และผู้นำพรรค อีกทั้งคงสามารถดึงดูดคนธรรมดาที่ไม่มีเงิน แต่มีพลัง ความรู้ และความสามารถ ให้เข้ามาเล่นการเมือง โดยยังคงรักษา ‘ตัวตน’ และความเป็นอิสระของตัวเองไว้ได้

แต่โปรดอย่าถามว่า การเมืองไทยจะเดินไปสู่วันนั้นได้เมื่อไหร่และอย่างไร

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, ธนกิจการเมือง, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต Leave a comment

การเมืองเรื่องเศรษฐกิจ

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

อ่านการเมืองเรื่องเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาแล้ว คงเห็นว่า ไม่ว่าประเทศใดในโลก นโยบาย ‘ลด-แลก-แจก-แถม’ ทางเศรษฐกิจยังขายได้เสมอ แต่ของเขา นโยบายฟากหนึ่ง รัฐใช้จ่าย ลดภาษีคนจน แต่เก็บภาษีคนรวยและบริษัทเพิ่มมากขึ้น นโยบายอีกฟากหนึ่ง ลดภาษีเอกชน ปล่อยให้เอกชนมีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ แต่คุมการใช้จ่ายของรัฐ ส่วนประเทศไทย มีนโยบายฟากเดียว รัฐใช้จ่ายมากขึ้น แถมลดภาษีกันถ้วนทั่วทุกกลุ่มเสียอีก

แล้วมันจะไปรอดได้อย่างไร?

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

McCainomics VS Obamanomics

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

บล็อกของโรเบิร์ต ไรช์ นำเสนอบทวิเคราะห์ว่าด้วยความแตกต่างระหว่างนโยบายเศรษฐกิจของ จอห์น แม็คเคน และบารัค โอบามา ไรช์ชี้ให้เห็นความคิดต่างของทั้งคู่ลึกลงไปถึงระดับ ‘ปรัชญา’ พื้นฐานของแนวนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันระหว่างพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต

หากจะสรุปให้อ่านในหนึ่งย่อหน้าก็คือ เศรษฐกิจแบบแม็คเคน (McCainomics) สะท้อนเศรษฐทัศน์แบบ ‘บนลงล่าง’ (Top-Down) อย่างชัดเจน ขณะที่เศรษฐกิจแบบโอบามา (Obamanomics) สะท้อนเศรษฐทัศน์แบบ ‘ล่างขึ้นบน’ (Bottom-Up) อย่างชัดเจน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

หนึ่งภาพอธิบายเศรษฐกิจการเมืองอเมริกัน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ภาพจากหนังสือ Unequal Democracy ของลาร์รี บาร์เทลส์ (Larry Bartels) นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งวางแผงเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2008 สามารถอธิบายเศรษฐกิจการเมืองอเมริกันได้อย่างยอดเยี่ยม

และช่วยยืนยันคำกล่าวที่ว่า “ชีวิตทางเศรษฐกิจสั่นสะเทือนตามจังหวะเต้นของการเมือง” ได้เป็นอย่างดี

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, พรรคการเมือง, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

US Election 101

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ผู้คนมักเข้าใจว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกผู้สมัครของแต่ละพรรคโดยตรง ผู้สมัครพรรคใดได้คะแนนเสียงทั่วประเทศสูงที่สุดคือผู้ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม และเป็นระบบที่ค่อนข้างซับซ้อน

การเลือกตั้งทั่วประเทศในวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ไม่ใช่การลงคะแนนเลือกผู้สมัครโดยตรง แต่เป็นการเลือกตั้ง ‘คณะผู้แทนเลือกตั้ง’ หรือ Electoral College (ต่อไปจะใช้ตัวย่อว่า EC) เพื่อเป็นตัวแทนของมลรัฐไปเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอีกต่อหนึ่ง ตามเจตจำนงของประชาชนในมลรัฐนั้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, เดโมแครต Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back