ผลงานด้านบรรณาธิการของ ปกป้อง จันวิทย์
ปกป้อง จันวิทย์
สุนทรพจน์ก้องโลก
ผู้แปล: โตมร ศุขปรีชา ปกป้อง จันวิทย์ และพลอยแสง เอกญาติ
ชวนอ่านปกหลัง:
“หนังสือเล่มนี้มีคำพูดดีๆ ของนักคิดที่มีความฝันจะสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้น อย่างสุนทรพจน์อันลือชื่อของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่ชื่อว่า I Have a Dream หรือสุนทรพจน์ของเนลสัน แมนเดลา
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น ‘คำพูด’ ที่ไม่ได้มีพลังงานในตัวมากพอจะทำให้ใบไม้ไหวหรือเทียนดับเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่าศักยภาพในความหมายของ ‘คำพูด’ เหล่านี้กลับท่วมท้นทบทวี กระทั่งทำให้โลก…อย่างน้อยก็โลกในบริบทหนึ่ง ณ กาลเวลาหนึ่ง ได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลอย่างไม่อาจหวนคืนได้” – โตมร ศุขปรีชา
สำนักพิมพ์: ปราณ
พิมพ์ครั้งแรก: มกราคม 2555
Macrotrends ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย
ผู้เขียน: สฤณี อาชวานันทกุล เอื้อมพร พิชัยสนิธ ปกป้อง จันวิทย์ และภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ชวนอ่านปกหน้า: โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกษียร เตชะพีระ สนทนากับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ชวนอ่านปกหลัง: 26 แนวโน้มใหญ่ เศรษฐกิจโลกใหม่ และเศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง
สำนักพิมพ์: สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ openbooks
พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2552
BLOG BLOG
ชวนอ่านปกหน้า:
เศรษฐกิจการเมืองอ่านสนุกจากมุมมองอดีตนักเรียนทุนฟุลไบรท์ไทยในอเมริกา ผู้สร้างชุมชนทางปัญญาผ่านเครือข่ายไซเบอร์สเปซ
งานเขียนแนวใหม่ที่ทำให้โลกไหวด้วยปลายนิ้ว
ชวนอ่านปกหลัง:
เมื่อนักวิชาการริอ่านเป็น blogger
หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านในวงกว้างได้สัมผัสกับงานเขียนดีๆ มีสาระบันเทิงจากหลายแง่มุม ทั้งในมุมของอาจารย์หนุ่ม นักศึกษาปริญญาเอก นักเศรษฐศาสตร์สำนักกระแสรอง ความยากลำบากและการต้องปรับตัวของชีวิตในต่างแดน การทำวิทยานิพนธ์ การเดินทาง แนวคิดเกี่ยวกับสังคมไทยและเรื่องอื่นๆ
สำนักพิมพ์: openbooks
พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): กันยายน 2548
คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ
ชวนอ่านปกหน้า:
ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน
ชวนอ่านปกหลัง:
“หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ ‘กังวล’ อย่างไม่ต้องสงสัยว่า ‘เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ ที่ร่ำเรียนทฤษฎีกันมาเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูง โดยละเลยปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น สามารถอธิบายความเป็นจริงของโลกและของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องหรือไม่” – วรากรณ์ สามโกเศศ
” ‘เศรษฐศาสตร์’ เป็นแค่วิธีคิดวิธีศึกษาโลกอย่างหนึ่งในหลายๆ วิธี เป็นแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์การคิดการเข้าใจโลกหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือการคิดการเรียนรู้เข้าใจโลกอื่นๆ มันมีประโยชน์และก็มีข้อจำกัดหรือกรอบของมัน มันช่วยให้คุณมองและยึดกุมอะไรบางอย่างชัดขึ้น มั่นคงแม่นยำขึ้น แต่มันก็ทำให้คุณมองบางอย่างรางเลือนไป ไม่อยู่ในโฟกัส” – เกษียร เตชะพีระ
สำนักพิมพ์: openbooks
พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2547
Thaksinomics: The overated regime
ผมไม่เชื่อว่าคนทุกคนเป็นสัตว์เศรษฐกิจล้วนๆ ก็จริง แต่สำหรับคนเป็นนักการเมือง ยิ่งเคยโตมาจากการเป็นนักธุรกิจผูกขาดด้วยแล้ว คนแบบนี้มีแนวโน้มเป็นสัตว์เศรษฐกิจสูง เพราะเส้นทางชีวิตต้องอยู่กับสถาบันหรือกติกาที่หล่อหลอมให้คุณกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ และสำหรับสัตว์เศรษฐกิจแล้ว ถ้ามีโอกาสหาประโยชน์แล้วมันไม่มีวันพอ เพราะสัตว์เศรษฐกิจมีเป้าหมายเพื่อทำอย่างไรให้ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดหนึ่งๆ กรณีว่าด้วยพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ค่าโง่ไอทีวี และกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนของคุณทักษิณและกลุ่มชินอื่นๆ ที่งานวิจัยหลายชิ้นตีแผ่ สะท้อนให้เห็นพื้นฐานความเป็นสัตว์เศรษฐกิจของนายกทักษิณได้เป็นอย่างดี
การอ่าน การเขียน และการเรียนรู้ชีวิตจากหนังสือ – สฤณี ปกป้อง และนิ้วกลม
นิ้วกลม ชวน สฤณี อาชวานันทกุล และ ปกป้อง จันวิทย์ สนทนาเรื่องการอ่าน การเขียน และการเรียนรู้ชีวิตจากหนังสือ ในวาระรำลึกการจากไปของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พ่วงเปิดตัวหนังสือวิชาสุดท้าย(ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน) เล่ม 2