Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

ประชาชาติธุรกิจ

สื่อทางเลือกแบบ “ลงแขก” โมเดล และ “โอเพ่น ออนไลน์”

Posted on August 31, 2014September 10, 2014 by pokpong

“อินเทอร์เน็ตจะเป็นเวทีของสื่อทางเลือก สื่อหลายประเทศก็เริ่มปรับตัวมาทางนี้ สื่อออนไลน์ ถ้าเราไม่อคติกับมัน ข้อดีคือทำให้สื่อขนาดเล็กมีที่ยืนได้ มีสื่อหลากหลายให้สังคมเลือกอ่าน ทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของสื่อได้ โดยไม่มีทุน ผมไร้ทุนก็เป็นเจ้าของสื่อได้โดยเขียนบล็อก โนบอดี้ในสังคมก็เขียนบทความวิจารณ์การเมืองได้ ถ้าคุณเป็นของจริง ดีจริง ความเชื่อถือก็ตามมาเอง เป็นเวทีเปิดที่ทุกคนมีโอกาสพิสูจน์ตัวเอง อินเทอร์เน็ตช่วยทำให้สื่อเป็นของประชาชนวงกว้าง เพิ่มระดับความเป็นประชาธิปไตยให้แก่สื่อ ช่วยให้เกิดสื่อจำนวนมากเสียจนไม่มีใครสามารถผูกขาดความจริงไว้กับตัวได้ ใช้อำนาจควบคุมไม่ได้หมด”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, การเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สื่อทางเลือก, สื่อสารมวลชน, อินเทอร์เน็ต, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

สิบความคิดที่ส่งผลต่อตัวตนของไอเอ็มเอฟ

Posted on August 30, 2014October 1, 2014 by pokpong

ไอเอ็มเอฟมิใช่สถาบันที่ปราศจากอุดมการณ์เบื้องหลัง นักเศรษฐศาสตร์หลายคนตีตราไอเอ็มเอฟในฐานะสถาบันที่แปลงอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประจักษ์พยานที่เห็นเด่นชัดในปัจจุบันคือ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ไอเอ็มเอฟเสนอแก่ประเทศที่เผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจล้วนเดินตามนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เป็นสำคัญ

ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลและมีวิวัฒนาการต่อเนื่องจากการเผชิญหน้าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของเศรษฐกิจโลก ในอีกทางหนึ่ง ไอเอ็มเอฟก็เป็นผู้เขียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเศรษฐกิจโลกเสียเอง

ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลจากความคิดและองค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ในอีกทางหนึ่ง ลักษณะตัวตนของไอเอ็มเอฟกลับส่งอิทธิพลกำหนดความเป็นไปและพัฒนาการขององค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged IMF, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, การเงินระหว่างประเทศ, ประชาชาติธุรกิจ, เศรษฐกิจมหภาค, เศรษฐศาสตร์ Leave a comment

ยุคหลังทักษิณ  เราจะสร้างภูมิปัญญากันอย่างไร ?

Posted on August 29, 2014October 1, 2014 by pokpong

เราต้องให้ความสำคัญกับการเมืองหลังการเลือกตั้งมากกว่าเสียอีก ยิ่งรัฐบาลมีเสียงมหาศาลในสภา ภาคประชาสังคมยิ่งต้องช่วยกันตรวจสอบรัฐบาลมากขึ้น เล่นการเมืองนอกสภามากขึ้น ต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ให้เห็นว่า การเคลื่อนไหว ตรวจสอบ วิจารณ์ หรือแสดงออกทางการเมืองนอกสภา เป็นเรื่องปกติภายใต้กระบวนการประชาธิปไตย

ระบบการเมืองไทยต้อง “เปิด” มากกว่านี้ ให้เสียงข้างน้อยมีที่ยืนในสังคม รัฐธรรมนูญต้องไม่ปิดพื้นที่ในการแสดงออกทางการเมือง พรรคเล็กต้องไม่ถูกลงโทษจากรัฐธรรมนูญ ต้องพยายามให้ตลาดการเมืองเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีอุปสรรคในการเข้าร่วมน้อยที่สุด เป็นการเมืองที่เปิดกว้างต่อความหลากหลาย และสำหรับชนทุกชั้น

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การตรวจสอบรัฐบาล, การเมืองไทย, ทักษิณ ชินวัตร, ประชาชาติธุรกิจ Leave a comment

ความเห็นหนึ่งถึงปัญหาบาทแข็ง

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อก่อนคนมักเข้าใจว่า นโยบายส่งเสริมการส่งออกไปด้วยกันได้ดีกับนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน แต่ปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงความขัดกันของสองนโยบายนี้ กล่าวคือเงินทุนที่ไหลเข้ามาก ทำให้ค่าเงินแข็ง และกระทบภาคส่งออก มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อกัน

โจทย์สำคัญที่ต้องคิดกันก็คือ ถ้าประเทศไทยจะยังยึดกุมยุทธศาสตร์ส่งออกเพื่อการพัฒนาต่อไป เราควรจะมีท่าทีอย่างไรต่อการไหลเข้าของเงินระหว่างประเทศ ถ้าเราปล่อยให้ทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี เราก็ต้องรับผลกระทบจากความผันผวนไร้เสถียรภาพจากระบบการเงินโลก ซึ่งประสบการณ์ในขณะนี้ชี้ชัดว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเงิน ในค่าเงินนั้นกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงด้วย ผลกระทบไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แต่ในภาคการเงินหรือตัวแปรที่เป็นตัวเงินเท่านั้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การส่งออก, การเงินระหว่างประเทศ, ค่าเงินบาท, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, อัตราดอกเบี้ย, เศรษฐกิจมหภาค, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

ย้อนมองมาตรการ 18 ธันวาคม 2549

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการ ‘ดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น’ (The reserve requirement on short-term capital inflows) ด้วยหวังจะใช้แก้ปัญหาเงินทุนระยะสั้นจากต่างชาติไหลที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก จนกระทบภาคการส่งออกของไทย ซึ่งจะมีผลบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง

เนื้อหาของมาตรการนี้คือ เมื่อมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศ สถาบันการเงินที่เป็นผู้รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด ทำให้ทุนนำเข้าสามารถแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้ลงทุนต่อในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (การกันสำรอง ให้ยกเว้นธุรกรรมที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ( Foreign Direct Investment -FDI) ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติที่นำทุนออกก่อนระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนแค่ 2 ใน 3 ของเงินสำรองที่กันไว้ (ได้คืนแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด โดยถูกหักไป 10 เปอร์เซ็นต์) ส่วนนักลงทุนที่นำเงินออกหลัง 1 ปี จะได้เงินคืนเต็มจำนวน แต่ก็ยังไม่ได้ดอกเบี้ยจากการถูกกันสำรอง

1 วันให้หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศมาตรการลงโทษทุนระยะสั้นดังกล่าว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงเป็นประวัติการณ์ถึง 108.41 จุด คิดเป็น 14.84 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมูลค่าหุ้นในตลาดเมื่อปิดตลาดวันนั้นลดลงประมาณ 8.2 แสนล้านบาท ในชั่วเวลาเพียง 1 วัน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged capital controls, การเก็งกำไรค่าเงิน, การเงินระหว่างประเทศ, ค่าเงินบาท, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, มาตรการ 18 ธันวาคม, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ Leave a comment

ว่าด้วย พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

นับตั้งแต่ปี 2542 รัฐบาลใช้ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เป็นเครื่องมือหลักในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นเครื่องมือในการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ที่เดิมเป็นองค์การของรัฐให้เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

แท้ที่จริงแล้ว พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มิใช่ ‘กฎหมายกลาง’ สำหรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่แท้จริง เนื่องจากตัว พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจมีเนื้อหาสาระเพียงกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกระบวนการการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน หรือที่เรียกว่า Corporatization เท่านั้น

พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ มิได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในกระบวนการอื่นที่ สำคัญนอกเหนือจากการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเลย ดังเช่น กระบวนการคัดเลือกรัฐวิสาหกิจที่จะถูกแปรรูป กระบวนการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบด้านต่างๆ จากการแปรรูป กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ กระบวนการออกกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลหรือจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลในกิจการของรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูป และกระบวนการกระจายหุ้นของบริษัทที่แปลงสภาพจากรัฐวิสาหกิจให้แก่เอกชน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กฎหมาย, การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, นิติเศรษฐศาสตร์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ, รัฐวิสาหกิจ Leave a comment

ว่าด้วยทุนค้าปลีกไทย

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

ผมได้มีโอกาสร่วมวิจารณ์บทความวิจัยเรื่อง “สองนคราค้าปลีกไทย: เศรษฐศาสตร์สถาบันว่าด้วยพลวัตบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติ” ของคุณวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร ซึ่งเป็นบทความหนึ่งที่ถูกนำเสนอในงานสัมมนาโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. เรื่อง “โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ” ของ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ณ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงขออนุญาตเก็บความมาเล่าสู่กันฟังครับ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged ทุนค้าปลีก, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว, พลวัตทุนไทย, วิกฤตเศรษฐกิจ, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 Leave a comment

ค้นความคิดว่าที่ ดร. เศรษฐศาสตร์

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อปี 1985 David Colander และ Arjo Klamer ออกแบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็น และสัมภาษณ์ นักศึกษาปริญญาเอก ที่เรียนอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา โดยมีประเด็นหลักเกี่ยวกับมุมมองต่อตัววิชาเศรษฐศาสตร์ และการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ต่อมาตีพิมพ์ใน Journal of Economic Perspectives ในชื่อ The Making of an Economist (1987) งานชิ้นดังกล่าวมีความน่าสนใจ เพราะสะท้อนพื้นฐานความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำรุ่นใหม่ต่อตัววิชาการ เศรษฐศาสตร์ และการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มสาว ผู้ตอบแบบสอบถามนี้ ถือเป็นกำลังสำคัญแห่งอนาคตในการ ‘ผลิตซ้ำ’ องค์ความรู้เศรษฐศาสตร์ไปสู่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นหลัง ไม่ว่าในฐานะว่าที่อาจารย์และว่าที่นักวิจัยในสถาบันศึกษาวิจัยเศรษฐศาสตร์ ชั้นนำ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ทิศทางและเนื้อหา และต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ ในทศวรรษต่อๆ ไป

ในอีกด้านหนึ่ง งานวิจัยชิ้นนี้เป็นภาพสะท้อน ‘เนื้อหาสาระ’ ของกระบวนการ ‘ฝึกสร้างนักเศรษฐศาสตร์’ ที่ดำรงอยู่ภายในโรงงานผลิตนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำแห่งสหรัฐอเมริกา ว่ามุมมองต่อโลกแบบใด อุดมการณ์ใด หรือวิธีทำงานแบบใด ที่ครอบงำวงวิชาการเศรษฐศาสตร์อยู่ในขณะหนึ่ง และส่งผลสำคัญในการ ‘ฝึกสร้าง’ และ ‘หล่อหลอม’ นักเศรษฐศาสตร์รุ่นต่อมา

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์, นักเรียนเศรษฐศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, โลกวิชาการ Leave a comment

ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูประบบเลือกตั้ง ส.ส.

Posted on August 25, 2014November 7, 2014 by pokpong

‘ระบบเลือกตั้ง’ ถือเป็น ‘สถาบัน’ ที่สำคัญยิ่งของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นกติกาที่กำหนดกระบวนการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความชอบธรรมและประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล โจทย์สำคัญเบื้องต้นของการออกแบบระบบเลือกตั้งคือ จะออกแบบกติกาการเลือกตั้งอย่างไร ให้ได้มาซึ่ง ‘ผู้แทน’ ที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง โดยชอบธรรม และเป็นธรรม

ระบบการเลือกตั้งที่ดีต้องเป็นระบบที่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งเป็นตัวสะท้อนความพึงใจ (Preference) ของผู้คนส่วนรวมในสังคมได้อย่างถูกบิดเบือนน้อยที่สุด คะแนนเสียงทุกคะแนนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต้องมีความหมาย ไม่ตกหล่นหรือสูญเปล่าไป

ระบบเลือกตั้งยังเป็นตัวกำหนดโครงสร้างสิ่งจูงใจ (incentive structure) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม บทบาท และหน้าที่ของผู้แทนราษฎรด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบเลือกตั้งมีส่วนสำคัญในการกำหนดว่า สังคมจะได้ผู้แทนแบบใด ใส่ใจทำหน้าที่ใดเป็นสำคัญ (หน้าที่ด้านนิติบัญญัติระดับชาติ หรือหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตเลือกตั้ง) ผู้แทนเป็นตัวแทนของใคร ปกป้องกลุ่มผลประโยชน์ใด รับผิดต่อใคร เป็นต้น

มิพักต้องพูดถึงว่า ระบบเลือกตั้งยังเชื่อมโยงกับพัฒนาการของสถาบันทางการเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น พรรคการเมือง การเมืองภาคประชาชน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การปฏิรูปการเมือง, การร่างรัฐธรรมนูญ, การเมืองไทย, การเลือกตั้ง, การแก้รัฐธรรมนูญ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ Leave a comment

ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูประบบเลือกตั้ง ส.ว.  

Posted on August 25, 2014October 1, 2014 by pokpong

หากรัฐสภาไทยยังคงเป็นระบบสองสภา โดยให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่คล้ายคลึงกับวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 คือมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย การสรรหา แต่งตั้ง หรือรับรองบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ การถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั้น สมาชิกวุฒิสภาต้องมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเท่านั้น ทีมผู้วิจัยไม่เห็นด้วยกับการให้วุฒิสภามีที่มาจากการแต่งตั้ง หรือการเลือกตั้งทางอ้อม ในรูปแบบใดทั้งสิ้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การปฏิรูปการเมือง, การร่างรัฐธรรมนูญ, การเมืองไทย, การเลือกตั้ง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back