Today marks the centennial of Puey Ungphakorn, a remarkable man who lived a remarkable life as a founding father of the modern Thai economy, pedagogue at Thammasat University and Bank of Thailand, role model and larger-than-life figure who was influential during some of the most momentous years of Thai history.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
9 มีนาคม 2559
9 มีนาคม เป็นวันเกิดของอาจารย์ป๋วย ปีนี้พิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าไปร่วมทำกิจกรรมรำลึกอาจารย์ป๋วยหลายอย่าง
เราพยายามตั้งโจทย์ให้เกิดการเรียนรู้ วิพากษ์ และต่อยอด “ความคิด” ของอาจารย์ป๋วย และเชื่อมโยงมรดกทางความคิดที่อาจารย์ป๋วยทิ้งไว้ ให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของสังคมร่วมสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลนับจากยุคของอาจารย์ป๋วย คนรุ่นเราที่ไร้ป๋วยจะอยู่กันต่อไปอย่างไรในสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบัน เราเรียนรู้ “ปัญญา” อะไรจากอาจารย์ป๋วยได้บ้าง อะไรยังเข้าท่า อะไรที่ล้าสมัย อะไรที่เราต้องไปให้ไกลขึ้น
งานเปิดตัวสารคดี “ป๋วย อึ๊งภากรณ์: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
เทปบันทึกภาพงานแถลงข่าวเปิดตัวสารคดี “ป๋วย อึ๊งภากรณ์: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” เสวนา “ร้อยเรียงความทรงจำ ร้อยปีอาจารย์ป๋วย” การฉายตัวอย่างสารคดี พร้อมสนทนากับทีมสร้างสรรค์ผลงาน ………………. จัดโดย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดการ: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.10–16.45 น. ณ ห้อง ศ.101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 12.40 – 13.10 น. ลงทะเบียน 13.10 – 13.30 น. กล่าวต้อนรับโดย ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวแนะนำสารคดี “ป๋วย อึ๊งภากรณ์: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” โดย คุณวิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ตัวแทนผู้อำนวยการ ส.ส.ท. 13.30 – 15.00 น. […]
ปกป้อง จันวิทย์ 100 ปี ชาตกาล ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ‘คนตรง’ กับ ‘สังคมคด’
ปกป้อง จันวิทย์ คุยกับหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน เรื่อง การรำลึกถึง ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในวาระ 100 ปีชาตกาล
:: 2558 :: ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ::
ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดขึ้นเนื่องในวาระรำลึก 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้คัดเลือกบุคคลผู้สืบสานปณิธานอาจารย์ป๋วยในแวดวงต่างๆ เพื่อแสดงปาฐกถาต่อสาธารณะในหัวข้อที่สะท้อนถึงความคิด ชีวิต และจิตวิญญาณของอาจารย์ป๋วย
รำลึก 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในสังคมไร้สันติประชาธรรม
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องให้ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล
ในวาระพิเศษเช่นนี้ การรำลึกถึงอาจารย์ป๋วยอย่างดีที่สุดคือ การศึกษาความคิดและผลงานของอาจารย์ป๋วย ไม่ใช่กราบไหว้ท่านเหมือนรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ หรือตามแห่แซ่ซ้องสรรเสริญ มัวแต่ “อ้างป๋วย” โดยไม่เคย “อ่านป๋วย” ว่าท่านคิดเขียนอะไรทิ้งไว้ ท่านยึดมั่นอุดมการณ์แบบไหน และมีภาพของสังคมไทยในอุดมคติเป็นเช่นไร
เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยด้านกลับของ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ผมขอชวนทุกท่านมาร่วมกัน “อ่านป๋วย” กันใหม่อีกสักครั้งหนึ่ง เผื่อจะได้เข็มทิศทางจริยธรรมเป็นหลักยึด เก็บเกี่ยวภูมิปัญญาไปคิดต่อยอด และรับแรงบันดาลใจในการต่อสู้เพื่อสังคมไทยในฝัน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน กันต่อไปครับ
จาก ‘สุชาติ สวัสดิ์ศรี’ ถึง ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’
เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2558 สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตบรรณาธิการ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ถนนหนังสือ และช่อการะเกด ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาแสดงปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เรื่อง “ปฏิทินแห่งความรื่นรมย์: ชีวิตทางวัฒนธรรมของป๋วย อึ๊งภากรณ์” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอตัดตอนเนื้อความของปาฐกถาอันยอดเยี่ยมมาให้อ่านกันสัก 5 ตอน ดังนี้
แด่อาจารย์ป๋วย – รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริอายุรวม 83 ปี
โลกได้สูญเสียสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ อันหาผู้ใดเสมอด้วยยาก และมิอาจหาผู้ใดทดแทนได้ด้วย
อาจารย์ป๋วยเกิดในตระกูลสามัญชน เติบโตและได้รับการบ่มเพาะเยี่ยงสามัญชน และจบชีวิตอย่างสามัญชน แต่อาจารย์ป๋วยก็แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า วิถีแห่งชีวิตสามัญชนเป็นวิถีที่ยิ่งใหญ่ได้ และเป็นวิถีที่งดงามได้ ความยิ่งใหญ่และความงดงามแห่งชีวิตมิได้ขึ้นอยู่กับชั้นชน มิได้ขึ้นอยู่กับฐานะและตำแหน่งแห่งหนในสังคม และมิได้ขึ้นอยู่กับอภิสิทธิ์ที่ได้รับ หากแต่ขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์
งานแถลงข่าว หนังสือ อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย ในวาระ 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์
งานแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ – แผนกิจกรรมโครงการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (หนังสือชุดอาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย)
อ่านใหม่ ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย
อ่านความคิดของอาจารย์ป๋วยแล้ว จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่าน คือมหาวิทยาลัยที่มีความชอบธรรม อันเป็นเรื่องเดียวกับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ(สันติ)ประชาธรรม ซึ่งท่านนิยามว่า “ธรรมเป็นอำนาจ ไม่ใช่อำนาจเป็นธรรม และธรรมเกิดจากประชาชน … อำนาจสูงสุดมาจากธรรมของประชาชน … ทั้งหมู่” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ, 2515) มิใช่จากเผด็จการผู้ทรงธรรมแต่อย่างใด