Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

มหาวิทยาลัย

TU101

Posted on August 20, 2015August 20, 2015 by pokpong

เทอมนี้ ชีวิตการสอนหนังสือมีเรื่องน่าตื่นเต้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้สอนวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาปีหนึ่งทุกคนต้องเรียน และเป็นครั้งแรกที่สอนห้องใหญ่ระดับหนึ่งพันคน นึกถึงบรรยากาศเมื่อ 20 ปีก่อน (ใช่แล้ว! มัน 20 ปีมาแล้ว!) สมัยเรียนปีหนึ่ง ไปนั่งฟังอาจารย์เกษียรสอนวิชาสังคมกับการปกครองที่ บร.4 ห้องเดียวกันนี้ (ใช่แล้วครับอาจารย์! มัน 20 ปีมาแล้วครับอาจารย์!) ตอนนั้นยังคิดอยู่เลยว่า คนสอนจะต้องใช้พลังมากขนาดไหน ถึงเอานักศึกษาให้อยู่หมัดได้

ยี่สิบปีต่อมา ก็ได้มีประสบการณ์เดียวกันกับตัวเองในที่สุด … อาจารย์ครับ มันโหดมาก

Posted in บทความ, บล็อก Tagged การศึกษา, มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิชาพื้นฐาน, หลักสูตร, อาเซียน, โลก, ไทย Leave a comment

อ่านใหม่ ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย

Posted on June 28, 2015June 28, 2015 by pokpong

อ่านความคิดของอาจารย์ป๋วยแล้ว จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่าน คือมหาวิทยาลัยที่มีความชอบธรรม อันเป็นเรื่องเดียวกับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ(สันติ)ประชาธรรม ซึ่งท่านนิยามว่า “ธรรมเป็นอำนาจ ไม่ใช่อำนาจเป็นธรรม และธรรมเกิดจากประชาชน … อำนาจสูงสุดมาจากธรรมของประชาชน … ทั้งหมู่” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ, 2515) มิใช่จากเผด็จการผู้ทรงธรรมแต่อย่างใด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การศึกษา, ความชอบธรรม, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, มหาวิทยาลัย, เสรีภาพ Leave a comment

ป๋วยทอล์ค: อ่านใหม่ “ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย”

Posted on April 2, 2015December 9, 2015 by pokpong

บทพูดของ ปกป้อง จันวิทย์ เรื่อง “อ่านใหม่…ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย” ในงาน Puey Talk ครั้งที่ 2 “โจทย์ใหม่? ทัศนะว่าด้วยการศึกษา” วันที่ 28 มีนาคม 2558

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทอภิปราย Tagged การศึกษา, ประชาธิปไตย, ป๋วย อึีงภากรณ์, มหาวิทยาลัย, สันติประชาธรรม, เสรีภาพ Leave a comment

แผ่นทองแดงแผ่นนั้น

Posted on September 3, 2014October 8, 2014 by pokpong

‘แผ่นทองแดงแผ่นนั้น’ จารึกชื่อบุคคล ‘ทุกคน’ ที่เกี่ยวข้องในการสร้าง Gordon Hall ให้เป็นรูปเป็นร่างสวยงามอย่างที่เห็น

ผมหมายถึง ‘ทุกคน’ จริงๆ ครับ

หากเป็นในประเทศไทย เราคงชินชาที่ได้เห็นชื่อผู้บริจาคเงินรายใหญ่ และชื่อผู้บริหารองค์กรในเวลานั้นอยู่บนแผ่นจารึก

แต่ ‘แผ่นทองแดงแผ่นนั้น’ จารึกรายชื่อของผู้คนทั้งหมด ไม่ว่าคนงานก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างไฟ ช่างทาสี ไปจนถึง สถาปนิก วิศวกร ผู้บริหาร ฯลฯ อย่างเท่าเทียมกัน เรียงตามลำดับตัวอักษรของส่วนงาน ไม่ใช่ชื่อผู้บริหารสถาบันตัวใหญ่โตและอยู่หน้าสุด ส่วนผู้ใช้แรงงานไว้ท้ายอะไรเยี่ยงนั้น

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged ชีวิตส่วนตัว, ทุนนิยม, ประสบการณ์เรียนต่อ, มหาวิทยาลัย, แรงงาน Leave a comment

เรียนเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่ไหนดี ?

Posted on August 13, 2014September 24, 2014 by pokpong

ปัญหาใหญ่ของนักเรียนเศรษฐศาสตร์ไทยเมื่อถึงคราวสมัครเรียนต่อปริญญาเอกก็คือ “ขาดข้อมูล” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก

คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาล้วนเป็นป้อมปราการแห่งสำนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก กระนั้น ยังมีหลายมหาวิทยาลัยที่นำเสนอหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ที่ “แตกต่าง” และเต็มไปด้วยความ “หลากหลาย” ดังจะได้เล่าสู่กันฟัง ในบทความนี้

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, โลกวิชาการ Leave a comment

ธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ ธรรมศาสตร์วันนี้

Posted on August 1, 2014September 20, 2014 by pokpong

ธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ ธรรมศาสตร์วันนี้

เมื่อวานนี้ ผมไปงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของคณะที่รังสิต อาจารย์กับนักศึกษาไปถ่ายรูปหมู่กันที่อนุสาวรีย์ป๋วยหน้าอาคารเรียนรวม ผมชี้ให้เพื่อนอาจารย์ดูแผ่นจารึกถ้อยคำของ อ.ป๋วย ข้างอนุสาวรีย์

เพื่อนผมถ่ายรูปมาลงเฟซบุ๊ก แล้วเขียนว่า “ป้ายที่ถูกลืม”

Posted in บทความ, บล็อก Tagged ธรรมศาสตร์, ประชาธิปไตย, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ผู้บริหารมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย, เผด็จการ Leave a comment

นักวิชาการในฝัน

Posted on June 1, 2014September 8, 2014 by pokpong

สถาบันที่ดี ที่จะทำให้ท้องฟ้าของนักวิชาการเป็นสีทองผ่องอำไพ ไม่ใช่สถาบันที่มีโครงสร้างสิ่งจูงใจที่ตีเส้นทางเดินไปสู่ความเป็นนักวิชาการในฝันแบบเดียวกัน แบบใดแบบหนึ่ง นะครับ แต่เป็นสถาบันที่ดีในความหมายที่สามารถส่งเสริมเอื้ออำนวยให้นักวิชาการในฝันแต่ละแบบ สามารถแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเจิดจรัส ตามวิถีแห่งตน

ให้นักวิชาการที่มี ‘โลก’ หลากหลายแตกต่างกัน สามารถบรรลุเส้นทางฝันของใครของมันได้

เช่นนี้เราจึงจะได้นักวิชาการในฝัน ไม่ว่าจะเป็นฝันแบบใดก็ตาม

Posted in บทความ, บล็อก Tagged การศึกษา, ชีวิตส่วนตัว, นักวิชาการ, มหาวิทยาลัย, อาจารย์มหาวิทยาลัย, โลกวิชาการ Leave a comment

สำนักหลังเขาของผม

Posted on June 1, 2014September 8, 2014 by pokpong

ความประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งในการมาฝึกวิชาที่สำนักหลังเขาก็คือ บรรยากาศภายในสำนัก ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์เฉพาะตัว

วันแรกของเมื่อสี่ปีก่อน ตอนผมก้าวขึ้นตึกสำนักเป็นครั้งแรก ก็เกิดความรู้สึกหลายอย่างผสมปนเปกันไป

รู้สึกทันทีเลยว่า … สนุกแน่ๆ

จำได้ว่า ผมไปถึงก่อนเปิดเทอม บรรยากาศจึงค่อนข้างเงียบเหงา ผมเดินสำรวจแต่ละชั้น ก็แปลกใจปนขบขัน เพราะหน้าประตูห้องของอาจารย์แต่ละคน ติดการ์ตูนล้อการเมืองบ้าง ด่ารัฐบาลบ้าง เหน็บแนมระบบทุนนิยมบ้าง สนับสนุนกลุ่มรักร่วมเพศบ้าง อาจารย์สายเศรษฐศาสตร์พัฒนาบางคนก็เอารูปของตัวเองที่เอากิ้งก่ายักษ์พันรอบคอ เมื่อคราวไปเยือนแอฟริกามาติดโชว์ ดูแล้วเป็นที่ครื้นเครงบันเทิงใจยิ่งนัก

Posted in บทความ, บล็อก Tagged การศึกษา, ชีวิตส่วนตัว, ประสบการณ์เรียนต่อ, มหาวิทยาลัย Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back