Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

เศรษฐศาสตร์การเมือง

อ่าน คอร์รัปชั่น ประชาธิปไตย และสังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

Posted on December 6, 2014December 6, 2014 by pokpong

คอร์รัปชั่นจึงเป็นปัญหาทางการเมืองเรื่องความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจ และความอยุติธรรมทางสังคม สาเหตุเชิงโครงสร้างของคอร์รัปชั่นมาจากโครงสร้างและระบอบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจ ดังนั้น ในด้านหนึ่ง การร้องหาคนดีเพียงเท่านั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมองเชิงโครงสร้างและระบบโดยไปไกลกว่าเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคล ในอีกด้านหนึ่ง คอร์รัปชั่นก็มิได้เป็นแค่ปัญหาเชิงเทคนิค มิได้มีแค่มิติทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราหวังพึ่งเทคโนแครตมาออกแบบระบบที่ดีแล้วหวังว่าปัญหาจะหมดสิ้นก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง เช่น การต่อสู้เชิงวาทกรรม และความชอบธรรมเชิงอำนาจของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged marc saxer, way, way to read!, การสร้างประชาธิปไตย, การเปลี่ยนผ่าน, การเมือง, คอร์รัปชั่น, นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประชาธิปไตย, วัฒนธรรม, วิกฤตการณ์การเมือง, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment

เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์

Posted on September 22, 2014October 1, 2014 by pokpong

รายละเอียด: รวมบทความด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบันของคณาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เขียน: ทวี หมื่นนิกร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ สุวินัย ภรณวลัย สมบูรณ์ ศิริประชัย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ปัทมาวดี ซูซูกิ ชล บุนนาค อภิชาต สถิตนิรามัย ศุพฤติ ถาวรยุติการต์ ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks

ตีพิมพ์: ตุลาคม 2552

Posted in ผลงานร่วม, หนังสือ Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชล บุนนาค, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, ทวี หมื่นนิกร, ปกป้อง จันวิทย์, ปัทมาวดี ซูซูกิ, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ศุพฤติ ถาวรยุติการต์, สมบูรณ์ ศิริประชัย, สุวินัย ภรณวลัย, อภิชาต สถิตนิรามัย, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน Leave a comment

วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์

Posted on September 22, 2014October 1, 2014 by pokpong

รายละเอียด: เมื่อนักมานุษยวิทยา นักปรัชญา และนักรัฐศาสตร์ วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์ ในวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้อภิปราย: ยุกติ มุกดาวิจิตร เกษม เพ็ญภินันท์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ พงษ์ธร วราศัย ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks

ตีพิมพ์: กันยายน 2552

Posted in ผลงานร่วม, หนังสือ Tagged ปกป้อง จันวิทย์, ปรัชญาเศรษฐศาสตร์, พงษ์ธร วราศัย, พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร, ระเบียบวิธีศึกษาเศรษฐศาสตร์, วิพากษ์เศรษฐศาสตร์, เกษม เพ็ญภินันท์, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment

เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบไหน?

สำรวจเบื้องหลังสังคมเศรษฐกิจ ในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์-เสรีนิยมใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

“เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน … โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยคือเราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: อมรินทร์

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2554

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, การเมือง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจ, สำนักพิมพ์อมรินทร์, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐกิจไทย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ Leave a comment

อ่าน ทวี หมื่นนิกร ผ่าน “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง”

Posted on September 1, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชื่อของหนังสือ “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” เล่มนี้ เป็นประโยคที่สะท้อนแก่นความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของทวี หมื่นนิกร ได้อย่างดีที่สุด สำหรับผู้สนใจเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทของสังคมเศรษฐกิจไทย ผลงานเขียนของทวี หมื่นนิกร เป็นงานที่มิอาจผ่านเลย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การพัฒนา, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ทวี หมื่นนิกร, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เทคโนแครต, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์สังคมนิยม Leave a comment

ปกป้อง จันวิทย์ เศรษฐศาสตร์นอกรั้วกระแสหลัก

Posted on August 29, 2014October 1, 2014 by pokpong

จากพิธีกรรายการทีวี ‘จิ๋วแจ๋วเจาะโลก’ ผู้โด่งดังตั้งแต่วัยเยาว์ อะไรทำให้เด็กชายคนหนึ่งซึ่งใฝ่ฝันจะเป็นนักการเมืองหันเหชีวิตตัวเองสู่การเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เต็มตัว

และไม่ใช่แต่เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกซึ่งครอบงำความคิดคนส่วนใหญ่อยู่เท่านั้น

แต่ ปกป้อง จันวิทย์ เลือกที่จะเรียนเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก ด้วยเชื่อว่ามันคือเศรษฐศาสตร์ที่แท้ ซึ่งอธิบายความเป็นไปของสังคมได้ดีกว่าเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก อันติดอยู่กับกรอบคิดว่าคนเป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจเท่านั้น

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, ประสบการณ์เรียนต่อ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์สองกระแส

Posted on August 13, 2014September 24, 2014 by pokpong

ปรากฏการณ์ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ด้านหนึ่งนำมาซึ่งความมหัศจรรย์ใจและความน่าตื่นเต้นที่นักเศรษฐศาสตร์สามารถนำระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีแบบแผนชัดเจน มีความเป็นสากล สามารถทดสอบข้อมูลจากประจักษ์พยานข้อเท็จจริง สร้างทฤษฎี และทำนายผลในอนาคตได้ มาใช้อธิบายพฤติกรรมของคน บริษัท หรือสังคม ที่มีชีวิต มีวัฒนธรรม มีค่านิยม เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง และมีความสลับซับซ้อน อย่างเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ

แต่หากเรามองอีกด้านหนึ่ง ระดับความเป็นวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้นมิใช่ได้มาโดยมิต้องเสียต้นทุน หากต้องแลกมาด้วยการละเลยปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ เช่น ปัจจัยทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม หรือสถาบัน ซึ่งยากจะวัดค่าได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (แท้ที่จริงแล้ว ตัวแปรทางเศรษฐกิจก็ใช่จะวัดค่าได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าพอใจนัก) โดยทั่วไป นักเศรษฐศาสตร์มักกำหนดข้อสมมติให้ตัวแปรเหล่านี้ถูกกำหนดมาอยู่แล้ว และไม่เปลี่ยนแปลง ตัวแปรทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่ถูกให้น้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ

ตัวแปรหรือปัจจัยทางการเมือง สังคม หรือสถาบัน ดูจะกลายเป็นสิ่งแปลกแยก และไร้ที่ทางมากขึ้นในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐาน แม้ว่าเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เป็นสิ่งที่มิอาจแยกขาดจากกันก็ตาม

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน Leave a comment

เรื่องของนายหมาก

Posted on June 1, 2014September 8, 2014 by pokpong

เวลาเราพูดถึง Marxist ต้องเข้าใจว่ามีทั้งพวกที่เป็นนักวิชาการ นั่งศึกษาทฤษฎี Marxism แล้วพยายามตอบคำถามว่า What is? What was? และ/หรือ What will be? พวกหนึ่ง เวลาผมพูดถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซ์ ผมหมายถึงงานศึกษาของคนกลุ่มนี้

และมีทั้งพวกนักปฏิบัติการทางการเมือง ที่นำทฤษฎีบางส่วนไปปรับใช้ในโลกแห่งความจริง หรือผู้ที่ได้รับอิทธิพลแรงบันดาลใจจากตัวทฤษฎี แล้วคิดเปลี่ยนแปลงสังคมในรูปแบบวิธีการต่างๆ และมีภาพฝันแตกต่างกัน อีกพวกหนึ่ง กลุ่มหลังนี้พยายามตอบคำถามว่า What should be?

ตัว Karl Marx เอง ก็มีบทบาทเป็นทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติการทางการเมือง สำหรับผม บทบาทที่โดดเด่นของ Marx คือบทบาทความเป็นนักวิชาการ ที่พยายามสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นมาเพื่ออธิบาย ‘โลก’ งานศึกษาความคิดของ Marx ส่วนใหญ่ศึกษาจากงานวิชาการที่ Marx เขียนเป็นหลัก และ Marx เองก็ไม่ได้มีบทบาทในฐานะนักปฏิวัติ ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วนำระบบเศรษฐกิจการเมืองในฝันในสมองของตนมาปรับใช้ในโลกแห่งความจริงแต่อย่างใด

Posted in บทความ, บล็อก Tagged karl marx, marxian economics, มาร์กซ์, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment

แซยิด Roemer

Posted on June 1, 2014September 8, 2014 by pokpong

หากขานชื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่ประดิษฐ์ภูมิปัญญาใหม่หรือวิธีคิดใหม่ให้แก่วงวิชาการเศรษฐศาสตร์แล้ว สำหรับผม ย่อมมีชื่อของ John Roemer อยู่ในบัญชีนั้นเป็นลำดับต้นๆ ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับวิธีคิด เครื่องมือ และมุมมองต่อโลกของเขาหรือไม่ ก็ยากที่จะปฏิเสธว่างานวิชาการของ Roemer มีความแปลกใหม่ เต็มไปด้วยนวัตกรรม และมี originality สูงมาก

แน่นอนว่า งานวิชาการที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นเป้าแห่งการโต้เถียงของวงการ

Roemer เป็น Marxist แต่เป็น Marxist ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก อย่าง Rational choice model, Game theory และ Walrasian General Equilibrium theory มาอธิบาย ‘โลก’ ของ Marx เช่น ทฤษฎีว่าด้วยชนชั้น ทฤษฎีว่าด้วยการเอารัดเอาเปรียบ (Exploitation) ของนายทุนต่อแรงงาน และความไม่เท่าเทียม (Inequality) ภายในระบบทุนนิยม ฯลฯ

Posted in บทความ, บล็อก Tagged analytical marxism, john roemer, Marxism, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back