ความคิดหลังดูสารคดี “นิรันดร์ราตรี” โดย วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
การพัฒนา
ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย ธร ปีติดล วัชรฤทัย บุญธินันท์ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จันจิรา สมบัติพูนศิริ สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิฐิณี ทองแท้
บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชา 7 ท่านที่ถูกเชื้อเชิญให้มาศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอด และความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยในปัจจุบัน
สำนักพิมพ์: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2559
หน้า: 256 หน้า
35 | 53 หนุ่มสาวในห้วงของการเปลี่ยนผ่าน (ตอน 1)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ กับผม มาแลกเปลี่ยนกันเรื่องพัฒนาการของสังคม-เศรษฐกิจ-การเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เชื่อมโยงมาถึงสภาพปัจจุบันและมองไปข้างหน้า โดยมีคุณชูวัส ฤกษ์ศิริสุข เป็นผู้ชวนสนทนา
อาลัย โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ทุกครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณโฆสิต ไม่ว่าครั้งสัมภาษณ์ยาว ในเวทีสัมมนา หรือในห้องประชุม ผมไม่เคยรู้สึกเลยว่าคุณโฆสิตเป็นนายแบงก์หรือนักธุรกิจเอกชน แต่สัมผัสได้ถึงความเป็น “เทคโนแครต” ตัวจริงเสียงจริง ผู้สนใจเรื่องการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และการรับมือกับโจทย์ปัญหาระยะยาว
:: 2558 :: ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ::
ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดขึ้นเนื่องในวาระรำลึก 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้คัดเลือกบุคคลผู้สืบสานปณิธานอาจารย์ป๋วยในแวดวงต่างๆ เพื่อแสดงปาฐกถาต่อสาธารณะในหัวข้อที่สะท้อนถึงความคิด ชีวิต และจิตวิญญาณของอาจารย์ป๋วย
:: 2558 :: วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ชุด “ปฏิรูปประเทศไทยด้วยคำถาม” ::
กลางเดือนกันยายน 2558 รายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอดกลับคืนจอทางไทยพีบีเอสอีกครั้ง หลังจากถูกพักออกอากาศไปร่วมปีครึ่ง
รอบนี้พวกเราถูกชวนให้ทำรายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอดเวอร์ชั่น “ปฏิรูปประเทศไทย” นี่เป็นโจทย์การทำสื่อที่ท้าทายในยุคสมัยของรัฐบาลรัฐประหาร ทีมงาน The 101% ต่างเชื่อมั่นว่าการปฏิรูปต้องอยู่บนวิถีประชาธิปไตย ยิ่งในจังหวะเวลาแบบนี้ เรายิ่งอยากสื่อ “สาร” บางอย่าง อยากแลกเปลี่ยนชวนคิดชวนคุยกับเหล่าผู้ชม โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ให้เห็นว่าเส้นทางประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพ ความหลากหลาย นิติรัฐ สันติวิธี และความเป็นธรรม เป็นหนทางหลักหนทางเดียวของการปฏิรูปประเทศไทยให้ดีขึ้นได้
อ่าน ทวี หมื่นนิกร ผ่าน “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง”
ชื่อของหนังสือ “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” เล่มนี้ เป็นประโยคที่สะท้อนแก่นความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของทวี หมื่นนิกร ได้อย่างดีที่สุด สำหรับผู้สนใจเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทของสังคมเศรษฐกิจไทย ผลงานเขียนของทวี หมื่นนิกร เป็นงานที่มิอาจผ่านเลย
การฟื้นตัวแบบไม่จ้างงาน
สรุปว่า กำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะนำไปสู่การจ้างงานมากขึ้นเสมอไป นับวันโลกของกำไรกับโลกของงานยิ่งแยกขาดจากกัน ความเชื่อที่ว่าช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวก่อนแล้วจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการจ้างงานต่อไปดูจะเป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจปัจจุบันเสียแล้ว
และหากสถานการณ์ในตลาดแรงงานยังคงดำเนินไปอย่างเลวร้ายเช่นนี้อยู่ ก็มีโอกาสสูงว่า สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วเป็นเพียงภาพลวงตาระยะสั้น ก่อนที่จะวนกลับสู่ความตกต่ำซ้ำสองอีกรอบในไม่ช้า เพราะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนต้องมีฐานล่างที่เข้มแข็ง คนต้องมีงานทำและได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมจึงมีอำนาจซื้อสินค้าและบริการในระดับที่นำพาเศรษฐกิจออกจากหล่มแห่งความตกต่ำได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
แผนที่แผ่นแท้ ? : การเมืองว่าด้วยแผนที่โลก
‘แผนที่โลก’ จึงกลายเป็นสมรภูมิของ ‘การเมืองว่าด้วยการนิยาม’ อีกสมรภูมิหนึ่ง เช่นเดียวกับ วาทกรรม ภาษา ฯลฯ
การเมือง อันเป็นศาสตร์ว่าด้วยการช่วงชิงอำนาจ รวมถึงอำนาจในการนิยาม จึงเวียนวนอยู่ทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่ในแผนที่โลก
การ ‘เลือก’ ใช้แผนที่โลกแต่ละแบบ หรือ ชัยชนะของแผนที่โลกแบบหนึ่งเหนือแบบอื่นๆ จนกลายเป็นแผนที่โลกหลักมาตรฐาน ล้วนแล้วแต่มีอุดมการณ์เบื้องหลังแฝงซ่อนอยู่ มิใช่กระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ล้วน แบบไร้ตัวตน ไร้อำนาจ ไร้ความเชื่อ ไร้อุดมการณ์ แฝงอยู่เบื้องหลัง
ผู้นิยม Peters Map ให้เหตุผลว่า แผนที่โลกมาตรฐานจัดทำขึ้นสมัยยุโรปครอบงำเป็นมหาอำนาจโลก เต็มไปด้วยอาณานิยมทั่วโลก จึงแฝงไปด้วย ‘อคติ’ ที่เอนเอียงไปทางผลประโยชน์ของประเทศแถบเหนือ
นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมแผนที่ฉบับมาตรฐาน Mercator Map ถึงถูก ‘เลือก’ ให้ผลิตซ้ำรุ่นแล้วรุ่นเล่า และเผยแพร่ทั่วโลก จนกลายเป็นแผนที่โลกทางการของหลายประเทศในโลก