“ทั้ง 3 วงการ (วงการการเมือง วงการสื่อ วงการวิชาการ) มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีแก่นอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความจริง จะเข้าใจความจริงได้ก็ต้องอาศัยความรู้ นักวิชาการมีหน้าที่ค้นหาความจริง สร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายความจริงให้ได้ดีที่สุด ส่วนนักข่าวก็มีหน้าที่ค้นหาความจริงของสังคมเหมือนกัน งานข่าวสืบสวนสอบสวนก็คืองานวิจัยขนาดย่อมๆ นั่นเอง นักการเมืองจะกำหนดนโยบายได้ก็ต้องเข้าใจความจริงของสังคมและโลกก่อน จึงจะกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและปฏิรูปสังคมได้ ซึ่งตัวเราก็สนใจสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ก็อยู่ในตัวเรามาโดยตลอด”
อาจารย์มหาวิทยาลัย
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ผมรู้จักอาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2535 ผ่านทางคอลัมน์ จากท่าพระจันทร์ถึงสนามหลวง ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ขณะนั้น ผมกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามและกำลังเต็มเปี่ยมด้วยไฟทางการเมืองที่ลุกโชน อันเป็นผลพวงจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
เวลานั้น ผมมุ่งมั่นอยากเป็นนักการเมืองในอนาคต จึงมุมานะโหมอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเมืองไทยอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ทั้งแนวว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตำรารัฐศาสตร์ รวมทั้ง บทความตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่เขียนโดยนักวิชาการจากรั้วมหาวิทยาลัย คอลัมน์โปรดที่ผมติดตามอ่านเป็นประจำคือ คอลัมน์ของอาจารย์รังสรรค์ อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวนิช และอาจารย์เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ทั้งสามมักเสนอมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างจากนักวิชาการรัฐศาสตร์ทั่วไป
a day: The 50 most inspirational guys 2007
ครูต้องเป็นโค้ช โค้ชบอลที่ดีต้องรู้ว่านักเตะคนไหนเหมาะจะเล่นตำแหน่งอะไร มีจุดอ่อนอะไร ควรจะฝึกฝนอะไรมากขึ้น ถ้าอาจารย์มีเวลาให้นักศึกษา อาจารย์ก็จะเป็นโค้ชที่ดีได้ โค้ชที่ดีไม่ได้ให้นักเตะหรือนักศึกษาเป็นอย่างที่โค้ชอยากให้เป็น แต่โค้ชที่ดีคือโค้ชที่สามารถสร้างโลกแบบที่นักเตะหรือนักเรียนคนนั้นอยากเป็น กระตุ้นให้เขารู้จักตัวเองก่อน ให้รู้ว่าอยากเป็นอะไร แล้วเราช่วยกระตุ้นให้เขาสร้างโลกอย่างที่เขาอยากเป็น
บทสัมภาษณ์ โพสต์ทูเดย์
เขาเปรียบการเป็นอาจารย์เหมือนกับผู้จัดการทีมฟุตบอล ซึ่งโค้ชที่ดีต้องทำให้ลูกทีมมีความหวังเดียวกัน คือ ได้แชมป์ ต้องทำงานหนัก ต้องดึงความสามารถของลูกทีมแต่ละคนออกมาให้ได้ คนที่เป็นอาจารย์ก็เช่นกัน จะต้องมองเห็นจุดเด่นในตัวนักศึกษาให้ได้ว่า คนไหนมีจุดแข็งอะไร ต้องให้กำลังใจ มีจุดอ่อนอะไร ให้ต้องปรับปรุงตัว โดยยึดจุดหมายปลายทางคือ สร้างจิตสำนึกสาธารณะให้นักศึกษาอยากช่วยกันเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้ดีขึ้น
คลื่นลูกใหม่แห่งเศรษฐศาสตร์กระแสรอง
ในอนาคต เขาคิดจะเขียนหนังสือเรียนเศรษฐศาสตร์สักเล่ม เพื่อถ่ายทอดความรู้และความคิด ช่วงชิงคำนิยามใหม่ของคำว่า “วิชาเศรษฐศาสตร์”
“ผมอยากนิยามเศรษฐศาสตร์ในแบบของผม โดยเฉพาะเพื่อสังคมไทย ถ้าคุณได้ไปลองอ่านหนังสือเรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น คุณจะเห็นเขานิยามคำว่าเศรษฐศาสตร์ ว่าคือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดภายใต้ความจำกัด ซึ่งผมว่านี่ยังคับแคบ ไม่รอบด้านเพียงพอ โลกเศรษฐศาสตร์กว้างใหญ่กว่านี้มาก
ปกป้อง จันวิทย์ เศรษฐศาสตร์นอกรั้วกระแสหลัก
จากพิธีกรรายการทีวี ‘จิ๋วแจ๋วเจาะโลก’ ผู้โด่งดังตั้งแต่วัยเยาว์ อะไรทำให้เด็กชายคนหนึ่งซึ่งใฝ่ฝันจะเป็นนักการเมืองหันเหชีวิตตัวเองสู่การเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เต็มตัว
และไม่ใช่แต่เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกซึ่งครอบงำความคิดคนส่วนใหญ่อยู่เท่านั้น
แต่ ปกป้อง จันวิทย์ เลือกที่จะเรียนเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก ด้วยเชื่อว่ามันคือเศรษฐศาสตร์ที่แท้ ซึ่งอธิบายความเป็นไปของสังคมได้ดีกว่าเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก อันติดอยู่กับกรอบคิดว่าคนเป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจเท่านั้น
นอกกระแส
“อาชีพการเมืองเป็นอาชีพที่มีการประนีประนอมสูง จนตัวตนของคุณเหลือน้อยลงไปเรื่อย อยู่ในระบบที่คนต้องคิดเหมือนกับพรรค อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมของคุณตกต่ำลง
… การเป็นนักวิชาการสามารถเปลี่ยนโลกได้เหมือนกัน เป็นการเปลี่ยนในระดับฐานล่างผ่านการสอนของเรา ผมเชื่อว่าการศึกษาเปลี่ยนชีวิตคนได้ เป็นการเล่นการเมืองภาคประชาชน ถ่ายทอดความคิด ความรู้ให้กับประชาชน”
Passionate Economist
“ผมเป็นคนมีแพสชั่นสูง ถึงทุกวันนี้ระดับความอยากให้สังคมดีขึ้น ไม่เคยลดลง และการทำความเข้าใจกลไกที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เพื่อยอมรับมัน แต่เพื่อเปลี่ยนแปลงมัน สำหรับผม หน้าที่ของนักวิชาการไม่ใช่แค่อธิบายสังคม เข้าใจมันแล้วจบ แต่ต้องมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม บทบาทของนักวิชาการไม่ใช่อยู่บนหอคอยงาช้าง แล้วคอยผลิตคำอธิบาย แต่มันต้องมีระดับของความเป็นนักปฏิวัติซ่อนอยู่ด้วย เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมทำได้หลายวิธี”
จากจิ๋วแจ๋ว (กว่าจะ) ถึงท่าพระจันทร์ ‘ผมไม่อยากเป็นนักวิชาการมั่วๆ’
“ความตั้งใจวันนี้จึงอยู่บนพื้นฐานว่า การแก้ไขปัญหาของประเทศชาติไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมืองอย่างเดียว ต้องอยู่ที่ทุกคนด้วย และคิดว่าอาชีพอาจารย์ก็เป็นอาชีพที่มีอิสระสูงและได้เรียนรู้ตลอดเวลา ได้สังสรรค์ทางความคิดกับคนรุ่นใหม่ ทำยังไงจะให้นักศึกษาฉุกคิดได้ว่า ประเทศนี้มีปัญหาใหญ่กว่าที่คิด และเป็นปัญหาที่ซับซ้อนระดับหนึ่ง การกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและให้เขาเติบโตด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ อาชีพอาจารย์จึงมีประโยชน์มาก”
ถึงวันนี้ในวัย 25 ฝน ‘ปกป้อง’ เดินทางมาเกือบสุดปลายทางของความฝัน…ฝันที่เหลืออยู่ของเขานอกจากจะอยากมีพ็อกเกตบุ๊กรวมงานเขียนของตัวเองตามประสาคนชอบอ่านหนังสือแล้ว เขามีความใฝ่ฝันสูงสุดที่จะเป็น ‘อาจารย์’ ที่ดี
ครูกับศิษย์
การเป็นครูบาอาจารย์มันดีตรงที่เปิดโอกาสให้เราได้เจอ ‘คนหน้าใหม่’ ในชีวิตทุกๆ ปี … บางคนช่วยจุดไฟเติมพลังในใจเราไม่ให้มอดดับ บางคนช่วยพาเราย้อนมองเห็นตัวเองในอดีต บางคนเตือนให้เรามองโลกแบบไม่ทิ้งอุดมคติด้วยคำถามอันซื่อใสแทงใจดำ บางคนช่วยตบหัวเราให้กลับคืนสู่โลกความจริงเบื้องหน้า บางคนช่วยให้เราไม่ลืมคำตอบว่าตัวเรามาเป็นอาจารย์ทำไมแต่แรก
- 1
- 2