ในวาระ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หนึ่งในผู้ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รำลึกความหลังถึงเหตุการณ์ในวันที่หลายคนปักหมุดหมายเป็นจุดตั้งต้นของวิกฤตต้มยำกุ้ง เชิญอ่านบทบันทึกปากคำประวัติศาสตร์ในหลายเรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน
เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร
ชวนอ่านปกหน้า:
เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบไหน?
สำรวจเบื้องหลังสังคมเศรษฐกิจ ในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์-เสรีนิยมใหม่
ชวนอ่านปกหลัง:
การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ
“เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน … โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยคือเราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร” – ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: อมรินทร์
พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2554
Macrotrends ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย
ผู้เขียน: สฤณี อาชวานันทกุล เอื้อมพร พิชัยสนิธ ปกป้อง จันวิทย์ และภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ชวนอ่านปกหน้า: โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกษียร เตชะพีระ สนทนากับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ชวนอ่านปกหลัง: 26 แนวโน้มใหญ่ เศรษฐกิจโลกใหม่ และเศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง
สำนักพิมพ์: สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ openbooks
พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2552
จาก ‘นักบุญ’ ถึง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’
จะ ‘พอเพียง’ ได้อย่างไร ในเมื่อคนยากคนจนมากมายในสังคมยังมี ‘ไม่เพียงพอ’ ไม่มีทรัพยากรพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เคยอยู่ภายใต้สังคมเศรษฐกิจที่ให้ ‘โอกาส’ ในการยกระดับและพัฒนาตัวเอง และไม่เคยอยู่ภายใต้ทุนนิยมเสรีอย่างแท้จริง ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน
อ่าน ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย
การแก้ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาด้วยการตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักเรียนอาชีวะเพียงลำพังยังไม่ใช่ทางออกในตัวเอง หากเราต้องการยกระดับคุณภาพของระบบอาชีวะให้เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนได้จริงก็จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณ ต้องเพิ่มการลงทุนครุภัณฑ์ทางการศึกษา ต้องเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว และต้องเพิ่มจำนวนครูด้วย นอกจากนั้น การร่วมมือกับสถานประกอบการทางธุรกิจเพื่อจัดการศึกษาร่วมกันก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนักเรียนอาชีวะจะได้มีโอกาสเรียนรู้ในสถานประกอบการจริง ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในโลกการผลิตจริง
อ่าน เส้นทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย … ผ่าน เสนาะ อูนากูล
หนังสือ อัตชีวประวัติและงานของเสนาะ อูนากูล มิได้บอกเล่าถึงชีวิตของ ดร.เสนาะ อูนากูล เพียงเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าถึงชีวิตของเทคโนแครตไทย เศรษฐกิจไทย และเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี พ.ศ.2504-2535 จากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ผ่านสายตาของตัวละครคนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่าง ดร.เสนาะ อูนากูล เทคโนแครตคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ‘ยุคทอง’ ของเทคโนแครต ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติภูมิและคุณธรรมในฐานะข้าราชการ
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร?
เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน? เรายอมรับเศรษฐกิจดังที่แสดงข้อมูลข้างต้นได้หรือไม่? หากไม่ – เราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร?
หากสังคมเศรษฐกิจไทยไม่ช่วยกันตอบโจทย์โหดหินนี้อย่างจริงจัง วิกฤตในช่วงครึ่งทศวรรษหลังที่ผ่านมาคงเป็นเพียงบทโหมโรงของวิกฤตอันหนักหนาสาหัสกว่า ซึ่งกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า
เศรษฐกิจไทย ไร้ผู้ประกอบการ?
ผมนึกถึงการแสดงปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ เรื่อง พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลาง ของ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน อาจารย์นิพนธ์กล่าวถึงงานศึกษาหลายชิ้นที่เชื่อว่า ชนชั้นกลางเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการ เพราะมีระบบคุณค่าที่นิยมการออม มีแนวโน้มที่จะนำเงินออมไปลงทุน รวมถึงให้คุณค่ากับการลงทุนด้านการศึกษา ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
ในปาฐกถาครั้งนั้น อาจารย์นิพนธ์ตั้งคำถามที่น่าสนใจต่อว่า แล้วชนชั้นกลางไทยเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการด้วยหรือไม่? คำตอบที่อาจารย์นิพนธ์ได้จากการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจไทยคือ ชนชั้นกลางไทยอาจไม่ใช่แหล่งกำเนิดของผู้ประกอบการ เพราะ “งานที่ดี” ของชนชั้นกลางไทยคือ การเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ใช่การประกอบอาชีพอิสระและการมีกิจการเป็นของตัวเองโดยรับบทเป็นนายจ้างเสียเอง
- 1
- 2