Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

เศรษฐกิจอเมริกา

CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

หนึ่งผิวสี หนึ่งสตรี หนึ่งวีรบุรุษชรา กับปฏิบัติการ ‘เปลี่ยน’ อเมริกา

เบื้องหลังการหาเสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกายุคใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

“ในที่สุด หลังจากถูกบังคับให้เป็นทาสมานานนับศตวรรษ คนผิวดำจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐ ที่กดขี่พวกเขามายาวนาน ได้อย่างสมภาคภูมิหรือไม่ ความฝันที่ถูกจุดประกายขึ้นโดยสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะสามารถแปลงเป็นความจริงได้หรือไม่ … กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในภาคภาษาไทย” – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

“แม้ว่าการเมืองของสหรัฐอเมริกาจะมิได้มีแต่แง่งาม หากมีอัปลักษณะหลายประการ และมีอัปรียชนแฝงตัวอยู่ เหมือนดังเช่นการเมืองทั่วทุกที่ แต่กระนั้น การเมืองอเมริกันก็เป็นภาพตัวอย่างที่ให้เราเอาเยี่ยงได้ในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ สิทธิ และเสรีภาพ การออกแบบระบบการเมืองการปกครองด้วยปัญญา โดยเฉพาะระบบการคานและดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ โดยมีข้อสมมติเบื้องต้นว่า การเมืองเป็นเรื่องของปุถุชนคนธรรมดา มิใช่เป็นเรื่องเฉพาะของเทวดา คุณพ่อคุณแม่รู้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ ปราชญ์ผู้ทรงธรรม หรือบรรดาผู้ผูกขาดนิยามความดี ความงาม ความจริง ไว้แต่เพียงผู้เดียว” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2551

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การเมือง, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, จอห์น แม็คเคน, บารัค โอบามา, ประวัติศาสตร์อเมริกา, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, ฮิลลารี คลินตัน, เศรษฐกิจอเมริกา 1 Comment

บารัค โอบามา  บนถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 4, 2014October 8, 2014 by pokpong

จากปี 1963 ถึง 2008

45 ปี ผ่านไป “ความฝัน” ซึ่ง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ได้เริ่มจุดประกายวาดหวังไว้ มีแววว่าจะไปได้ไกลสุดปลายฝัน เมื่อชายหนุ่มผิวดำ วัย 47 ปี นักการเมืองหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติได้ไม่ถึง 5 ปี สามารถพลิกประวัติศาสตร์เป็นคนผิวดำคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองใหญ่ลงชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุด และมีโอกาสสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกแห่งสหรัฐอเมริกา–ประเทศซึ่งคนผิวดำตกเป็นผู้ถูกกดขี่ในฐานะทาสและพลเมืองชั้นสามส่วนห้ามายาวนานนับศตวรรษ

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged obama, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, คนผิวดำ, นโยบายสาธารณะ, บารัก โอบามา, ประชาธิปไตย, ประวัติศาสตร์อเมริกา, สารคดี, สิทธิเสรีภาพ, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

โอบามา: การเมืองใหม่ เศรษฐกิจใหม่

Posted on September 1, 2014October 3, 2014 by pokpong

“การเมืองอเมริกาเป็นเรื่องเล่าที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเท่ากัน และเชื่อมั่นในหลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง ประชาชนมีสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศด้วยมือของเขาเอง ถ้าคุณเผชิญกับรัฐบาลนี้ ผู้นำคนนี้คุณไม่ชอบ วันเลือกตั้งคุณก็ลงโทษด้วยการไม่ลงคะแนน ระบบก็เดินไปข้างหน้า …”

“ระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกาเป็นระบอบที่อยู่บนฐานข้อสมมติที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องของสามัญชนคนธรรมดา การเมืองไม่ใช่เรื่องของคนมีอำนาจ ไม่ใช่เรื่องของนักปราชญ์เมธี แต่เป็นเรื่องของคนธรรมดา และไม่มีใครผูกขาดความดีความงามความจริงไว้กับตัวเองฝ่ายเดียว …”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, บารัค โอบามา, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การฟื้นตัวแบบไม่จ้างงาน

Posted on August 31, 2014October 7, 2014 by pokpong

สรุปว่า กำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะนำไปสู่การจ้างงานมากขึ้นเสมอไป นับวันโลกของกำไรกับโลกของงานยิ่งแยกขาดจากกัน ความเชื่อที่ว่าช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวก่อนแล้วจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการจ้างงานต่อไปดูจะเป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจปัจจุบันเสียแล้ว

และหากสถานการณ์ในตลาดแรงงานยังคงดำเนินไปอย่างเลวร้ายเช่นนี้อยู่ ก็มีโอกาสสูงว่า สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วเป็นเพียงภาพลวงตาระยะสั้น ก่อนที่จะวนกลับสู่ความตกต่ำซ้ำสองอีกรอบในไม่ช้า เพราะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนต้องมีฐานล่างที่เข้มแข็ง คนต้องมีงานทำและได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมจึงมีอำนาจซื้อสินค้าและบริการในระดับที่นำพาเศรษฐกิจออกจากหล่มแห่งความตกต่ำได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged jobless recovery, การจ้างงาน, การพัฒนา, นิตยสาร ค คน, วิกฤตเศรษฐกิจ, เศรษฐกิจมหภาค, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

เศรษฐกิจใหม่

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจอเมริกาในขณะนี้คือ ปัญหาการว่างงาน อัตราการว่างงานสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนตุลาคม 2008 ตำแหน่งงานหายไปจากเศรษฐกิจอเมริกา 10 เดือนรวด รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านตำแหน่ง เฉพาะเดือนตุลาคม 2008 งานหายไป 240,000 ตำแหน่ง คาดว่าในขณะนี้ คนว่างงานในอเมริกาสูงถึงหลัก 10 ล้านคน

หากคนไม่มีงานทำ อำนาจซื้อในระบบเศรษฐกิจก็หดหาย เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวได้ยาก และเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อลูกหนี้สูญเสียความสามารถในการชำระหนี้ ก็เข้าสู่ภาวะหนี้ท่วมหัว อาจถูกยึดบ้าน ถูกฟ้องล้มละลาย และสถาบันการเงินก็ประสบปัญหาหนี้เสียและขาดทุน บั่นทอนความสามารถในการปล่อยกู้ให้ภาคเศรษฐกิจจริง ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปอุ้ม

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องอิรัก

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเด็นที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ ก็คือ ปฏิบัติการทางการทหารในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงหนึ่งปีให้หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลบุชต้องการทำสงครามกับอิรัก เพื่อล้มล้างระบอบซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งรัฐบาลบุชขนานนามว่าเป็นระบอบทรราชย์ที่เป็นภัยคุกคามต่ออเมริกาและต่อโลก โดยอ้างว่า อิรักได้พัฒนาอาวุธทำลายล้างรุนแรง (WMD – Weapons of Mass Destruction) ให้การสนับสนุนองค์กรก่อการร้าย และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโหดร้าย รวมถึงเคยพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีบุชผู้พ่อด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องคนย้ายถิ่น

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

หากวิเคราะห์จุดยืนพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการย้ายถิ่นของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า นโยบายของแม็คแคนและโอบามา (รวมถึงคลินตัน) ไม่ต่างกันมาก ทุกคนต่างให้การสนับสนุนการปฏิรูประบบจัดการการย้ายถิ่นตามแนวทางของร่างกฎหมายปี 2006 ซึ่งก็คือการสนับสนุนนโยบายสร้างรั้วกั้นแนวพรมแดนทางใต้ สนับสนุนการสร้าง ‘ทาง’ ให้คนย้ายถิ่นที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมายก้าวสู่การเป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัวได้ และการเปิดช่องให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในระบบแรงงานรับเชิญ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การย้ายถิ่น, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องขุดน้ำมัน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ด้วยราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไม่หยุด จนแตะระดับ 135 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปี 2551 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงปลุกผีการขุดเจาะหาน้ำมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยเสนอให้รัฐสภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการห้ามขุดเจาะน้ำมันในทะเล ปี 1981 และมีแนวคิดที่จะยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Orders) ที่ห้ามขุดเจาะน้ำมันปี 1990 รวมถึงเสนอให้อนุญาตให้ขุดหาน้ำมันในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและคุ้มครองสัตว์ป่าได้ด้วย โดยอ้างว่าหากค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่จะช่วยทำให้ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาลดลง เป็นการบรรเทาภาระของประชาชน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องโลกร้อน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

จุดใหญ่ใจความของเรื่องนี้อยู่ตรงบทบาทและท่าทีของรัฐบาลในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมนี่เองว่า รัฐบาลควรจะเข้ามาจำกัดควบคุมการผลิตของภาคเอกชนเพียงใด หากปล่อยให้เอกชนตัดสินใจผลิตตามกลไกตลาดเพื่อกำไรสูงสุด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมย่อมมีมากขึ้นเกินระดับที่เหมาะสม เพราะการผลิตสินค้าก่อให้เกิดต้นทุนต่อสังคม (Social Cost) เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาโลกร้อน ซึ่งผู้ผลิตในตลาดไม่คำนึงต้นทุนดังกล่าว เพราะสนใจเฉพาะต้นทุนที่ตกกับตัวเอง (Private Cost) เท่านั้น หากต้องการลดต้นทุนต่อสังคมลง รัฐบาลก็ต้องเข้ามาแทรกแซงความล้มเหลวของตลาดในส่วนนี้ โดยการจำกัดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น แม้อาจจะทำให้ต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น แต่ก็ช่วยลดต้นทุนต่อสังคมจากการผลิตลง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องเศรษฐกิจ

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

อ่านการเมืองเรื่องเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาแล้ว คงเห็นว่า ไม่ว่าประเทศใดในโลก นโยบาย ‘ลด-แลก-แจก-แถม’ ทางเศรษฐกิจยังขายได้เสมอ แต่ของเขา นโยบายฟากหนึ่ง รัฐใช้จ่าย ลดภาษีคนจน แต่เก็บภาษีคนรวยและบริษัทเพิ่มมากขึ้น นโยบายอีกฟากหนึ่ง ลดภาษีเอกชน ปล่อยให้เอกชนมีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ แต่คุมการใช้จ่ายของรัฐ ส่วนประเทศไทย มีนโยบายฟากเดียว รัฐใช้จ่ายมากขึ้น แถมลดภาษีกันถ้วนทั่วทุกกลุ่มเสียอีก

แล้วมันจะไปรอดได้อย่างไร?

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back