อ่านถอดความและชมวิดีโอการเสวนารับฟังเสียงสะท้อนจากเครือข่าย เพื่อทบทวนการทำงานของประชาไทในรอบ 10 ปีที่ผ่าน รวมถึงก้าวต่อไปและความท้าทายในอนาคต โดยวิทยากรประกอบไปด้วย สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์, กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา จากมูลนิธิชีววิถี และประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย ปกป้อง จันวิทย์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเสวนานี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีประชาไท
ประชาธิปไตย
ถ้อยคำจากฮาเวล: “เราทุกคนเป็นผู้ร่วมสร้างเผด็จการอำนาจนิยม”
ในวันที่ 1 มกราคม 1990 ฮาเวลได้กล่าวผ่านสื่อกับประชาชนของเขา มันเป็นการนำเสนอข้อความที่น่าประหลาดใจในหลายๆ ด้าน มันไม่ใช่ข้อความของผู้ชนะ แต่เป็นประดุจการครุ่นคิดพิจารณาว่า ระบอบอันล้มละลายทางศีลธรรมพลอยทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย เขาบรรยายระบบที่กัดกร่อนคุณค่าและความรู้สึกของมนุษย์ ก่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนจำยอม ไม่มีหนทางต่อสู้ ที่แพร่หลายไปทั่ว มันเป็นข้อความที่ร่างขึ้นมาอย่างทรงพลัง และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างกว้างขวางกับระบอบเผด็จการอำนาจนิยมทั่วโลก
ป๋วยทอล์ค: อ่านใหม่ “ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย”
บทพูดของ ปกป้อง จันวิทย์ เรื่อง “อ่านใหม่…ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย” ในงาน Puey Talk ครั้งที่ 2 “โจทย์ใหม่? ทัศนะว่าด้วยการศึกษา” วันที่ 28 มีนาคม 2558
สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: In the vertigo of change: How to resolve Thailand’s transformation crisis (สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: Marc Saxer
ชวนอ่าน:
กว่า 10 ปี ภายใต้วังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน? และสังคมไทยจะก้าวข้ามวิกฤตเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางออกดังกล่าวได้อย่างไร? หาคำตอบได้จากบทความทั้ง 9 ชิ้น อันเฉียบคมและชวนถกเถียงต่อในหนังสือเล่มนี้
1. บทนำ: ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย
2. ในวังวนแห่งการเปลี่ยนแปลง: เราจะคลี่คลายวิกฤตการเมืองได้อย่างไร?
3. ประเทศไทยจะก้าวข้ามวิกฤตการเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร?: ยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
4. เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้: หนทางสร้างการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อสังคมที่ดี
5. โทสะชนชั้นกลางคุกคามประชาธิปไตย
6. วาทกรรมการเมืองเชิงศีลธรรม ในฐานะอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
7. การต่อสู้กับคอร์รัปชันในสังคมเปลี่ยนผ่าน
8. ความฝันของสยามยามคณะรัฐประหารครองเมือง
9. บทส่งท้าย: การสร้างสังคมที่ดีในประเทศไทย
ชวนอ่านปกหลัง
– วิกฤตเปลี่ยนผ่าน –
ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านคือความทุกข์จากความสำเร็จของตน เมื่อระเบียบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อความเป็นจริงใหม่ทางสังคม ในการข้ามพ้นวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ระเบียบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความซับซ้อน ความหลากหลาย และความขัดแย้งอันถาวรของสังคมพหุนิยมสมัยใหม่
– ประชาธิปไตย –
‘ประชาธิปไตยแบบหนา’ คือเกมที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีอยู่ ประชาธิปไตยที่ไม่มีการเลือกตั้งและการปกครองด้วยเสียงข้างมากย่อมไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายใต้หลักนิติธรรม และระบบตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อคัดคานการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วย
– ความขัดแย้งเหลือง-แดง –
ทั้งสองฝ่ายต่างนำวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการใช้ความรุนแรงมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตน ทั้งวาทกรรม ‘แดง’ และ ‘เหลือง’ ต่างส่งเสริมประชาธิปไตยที่บกพร่องและไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
– ชนชั้นกลาง –
ประชาธิปไตยไม่อาจอยู่รอดได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง เราจำเป็นต้องดึงชนชั้นกลางที่เกรี้ยวกราดกลับเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังประชาธิปไตยอีกครั้งให้ได้
– คอร์รัปชัน –
คอร์รัปชันมิใช่ปัญหาศีลธรรมส่วนบุคคล แต่เป็นอาการของโรคเรื้อรังจากระบอบศักดินาราชูปถัมภ์ ในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน เราจำเป็นจะต้องเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง และต้องทำให้การต่อสู้กับคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ที่ใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยและสร้างความยุติธรรมทางสังคม
– เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้ –
เศรษฐกิจไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้เป้าหมายแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’ ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการพัฒนาใหม่ สู่โมเดลการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของทุกคนให้บรรลุศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่ตนเลือกอย่างถ้วนหน้า
– พันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง –
เพื่อเอาชนะแนวร่วมฝ่ายธำรงรักษาสถานภาพเดิมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง กลุ่มพลังก้าวหน้า เสรีนิยม และอนุรักษนิยมตาสว่าง ต้องรวมพลังกันเป็นพันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง พื้นที่กลาง ซึ่งทุกกลุ่มน่าจะยอมรับร่วมกันได้ คือการรวมพลังกันเพื่อ “สร้างสนามประชาธิปไตยในวันนี้สำหรับใช้แข่งขันกันอย่างเท่าเทียมต่อไปในวันหน้า”
– สัญญาประชาคมใหม่ –
ทางออกที่ทุกกลุ่มในสังคมเป็นผู้ชนะ มิอาจเกิดขึ้นผ่านการประนีประนอมเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำแบบปิดลับอีกต่อไป สังคมไทยต้องการสัญญาประชาคมใหม่ที่วางอยู่บนฐานของการประนีประนอมที่เปิดกว้างให้ทุกกลุ่มในสังคมมีส่วนร่วมอย่างถ้วนหน้า และเป็นสัญญาประชาคมที่สร้างระเบียบสมัยใหม่บนฐานของกฎหมายและเหตุผลสำหรับเป็นฐานที่มั่นแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’
สำนักพิมพ์: openworlds / มูลนิธิฟรีดริด แอเบร์ท
พิมพ์ครั้งแรก: ธันวาคม 2557
หน้า: 304 หน้า
ราคา: ไม่จำหน่าย
อ่าน คอร์รัปชั่น ประชาธิปไตย และสังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง
คอร์รัปชั่นจึงเป็นปัญหาทางการเมืองเรื่องความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจ และความอยุติธรรมทางสังคม สาเหตุเชิงโครงสร้างของคอร์รัปชั่นมาจากโครงสร้างและระบอบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจ ดังนั้น ในด้านหนึ่ง การร้องหาคนดีเพียงเท่านั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมองเชิงโครงสร้างและระบบโดยไปไกลกว่าเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคล ในอีกด้านหนึ่ง คอร์รัปชั่นก็มิได้เป็นแค่ปัญหาเชิงเทคนิค มิได้มีแค่มิติทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราหวังพึ่งเทคโนแครตมาออกแบบระบบที่ดีแล้วหวังว่าปัญหาจะหมดสิ้นก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง เช่น การต่อสู้เชิงวาทกรรม และความชอบธรรมเชิงอำนาจของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นด้วย
ประชาธิปไตย คอร์รัปชั่น และการปฏิรูปประเทศไทย: จะใช้ประชาธิปไตยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้อย่างไร
เทปบันทึกภาพงานเสวนาสาธารณะ “ประชาธิปไตย คอร์รัปชั่น และการปฏิรูปประเทศไทย: จะใช้ประชาธิปไตยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้อย่างไร” โดย Marc Saxer, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ประจักษ์ ก้องกีรติ และธานี ชัยวัฒน์ ดำเนินการเสวนาโดย ปกป้อง จันวิทย์
‘เสรีประชาธรรม’ กับ ‘หมู่บ้านไทยเจริญ’
หลังจากที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 หลังจากเพิ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างนับสิบปีในปี 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2512 ซึ่งพรรคสหประชาไทยของท่านชนะเลือกตั้ง จอมพลถนอมก็เปลี่ยนสภาพจากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้ระบอบเผด็จการทหารตามความคุ้นชิน
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ลาไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ได้เขียนจดหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาฉบับหนึ่ง คือ จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เศรษฐศาสตร์สาร ฉบับชาวบ้าน (ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2515) ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้จอมพลถนอมเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว
“เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” รวมพลังกลุ่มต่างขั้ว หา “จุดร่วม” ทางออกประเทศไทย
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงเปิดตัวเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร คัดค้านความรุนแรงทุกรูปแบบ เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม นักวิชาการ ที่มีความคิดเห็น “ต่างขั้ว” และมี “จุดยืน” ทางการเมืองที่หลากหลาย แต่มี “จุดร่วม” ที่เหมือนกัน รวมพลังระดมความคิดร่วมกันหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และอีกหนึ่งความหวัง
ไม่เอา “รัฐประหาร-ความรุนแรง” เอา “เลือกตั้ง-ปฏิรูปวิถีประชาธิปไตย”
ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์
ก่อนที่มหาวิทยาลัยเราจะกลายเป็น ‘อธรรมศาสตร์’ ที่ยึดถือหลักอธรรมสัตย์ อธรรมรัฐ อธรรมชาติ และอยุติธรรม อย่าเพิ่งรีบปลงอนิจจัง เรามาช่วยกันรณรงค์ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์ กันดีกว่าครับ
‘จิตวิญญาณ’ แห่ง ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ประชาธิปไตย’ เชิง ‘จิตวิญญาณ’: ทัศนะว่าด้วยการเมืองร่วมสมัย ประชาธิปไตย และการปฏิรูปประเทศไทย ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ท่ามกลางความร้อนรุ่มและเครียดคลั่งของสถานการณ์การเมืองไทย October ชวน ‘เสกสรรค์ ประเสริฐกุล’ ในวันที่ถอดหมวกวาง และรักที่จะใช้ชีวิตกับ ‘ความว่าง’ อย่างไม่ถูกคุมขังอยู่ในคำนิยามใดๆ มาสนทนาเรื่องการเมืองร่วมสมัย ประชาธิปไตย และการปฏิรูปประเทศไทย
กล่าวอย่างรวบรัด สำหรับเสกสรรค์แล้ว “ประชาธิปไตยคล้ายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดพื้นที่ให้คนบรรลุศักยภาพของตน ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่เป็นระบบกระจายอำนาจ กระจายโอกาส และกระจายทางเลือกในการใช้ชีวิตให้กับคน ซึ่งรวมทั้งทางเลือกทางจิตวิญญาณด้วย”
กล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขอเชิญท่านผู้อ่านละเลียดบทสนทนาความยาวกว่า 3 ชั่วโมงว่าด้วย ‘จิตวิญญาณ’ แห่ง ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ประชาธิปไตย’ เชิง ‘จิตวิญญาณ’ ได้นับจากบรรทัดนี้