Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

แรงงาน

สยามวาระ: ไปให้ไกลกว่า 300 บาท

Posted on September 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

อะไรคือปัญหาของแรงงานไทย และค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเป็นยารักษาทุกโรคของแรงงานไทยจริงหรือไม่

ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมไปสำรวจชีวิตจริงของแรงงานแล­ะระบบค่าจ้างขั้นต่ำของไทย ผ่านมุมมองแรงงาน นักวิชาการ และผู้ประกอบการ

ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทยดีขึ้น เลวลง หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อะไรคือคอขวดของปัญหา และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบค่าจ้าง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคแรงงานจะต้องมีบทบาทอย่างไร

Posted in จับเข่าคุย Tagged thai pbs, การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างเพื่อชีวิต, ปฏิรูปภาคแรงงาน, พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน, ระบบค่าจ้างขั้นต่ำ, สยามวาระ, แรงงาน Leave a comment

เปิดผลสำรวจขึ้น 300 บาทผลกระทบน้อย เสนอค่าจ้างเพื่อชีวิต

Posted on September 21, 2014November 8, 2015 by pokpong

สำหรับอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมของประเทศไทย หากโจทย์อยู่ที่การเพิ่มความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ แนวคิดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำควรต้องให้สอดคล้องกับหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่มีแนวคิดเรื่อง อัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต (living wage) คือระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีการครองชีพในระดับมาตรฐาน มีเวลาว่างพอที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งในสังคมไท

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged ค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างเพื่อชีวิต, นโยบาย อัตราค่าจ้าง 300 บาท, ปกป้อง จันวิทย์, พรเทพ เบญญาอภิกุล, แรงงาน Leave a comment

แบบจำลองว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในตลาดแรงงานของซามูแอล โบลส์: แนวคิดและนัยต่อเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่

Posted on September 6, 2014October 6, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์

ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน ปกป้อง จันวิทย์ (บรรณาธิการ). 2552. เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks.

รายละเอียด: บทความนี้นำเสนอครั้งแรกในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลังตีพิมพ์ใน รัฐศาสตร์สาร 30 ปี เล่ม 4 (2552) หน้า 392-426.

Posted in งานวิชาการ, บทความวิชาการ Tagged ค่าจ้าง, ซามูแอล โบลส์, ตลาดแรงงาน, เศรษฐกิจมหภาค, เศรษฐศาสตร์สถาบัน, เสรีนิยมใหม่, แรงงาน, โลกาภิวัตน์ Leave a comment

แผ่นทองแดงแผ่นนั้น

Posted on September 3, 2014October 8, 2014 by pokpong

‘แผ่นทองแดงแผ่นนั้น’ จารึกชื่อบุคคล ‘ทุกคน’ ที่เกี่ยวข้องในการสร้าง Gordon Hall ให้เป็นรูปเป็นร่างสวยงามอย่างที่เห็น

ผมหมายถึง ‘ทุกคน’ จริงๆ ครับ

หากเป็นในประเทศไทย เราคงชินชาที่ได้เห็นชื่อผู้บริจาคเงินรายใหญ่ และชื่อผู้บริหารองค์กรในเวลานั้นอยู่บนแผ่นจารึก

แต่ ‘แผ่นทองแดงแผ่นนั้น’ จารึกรายชื่อของผู้คนทั้งหมด ไม่ว่าคนงานก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างไฟ ช่างทาสี ไปจนถึง สถาปนิก วิศวกร ผู้บริหาร ฯลฯ อย่างเท่าเทียมกัน เรียงตามลำดับตัวอักษรของส่วนงาน ไม่ใช่ชื่อผู้บริหารสถาบันตัวใหญ่โตและอยู่หน้าสุด ส่วนผู้ใช้แรงงานไว้ท้ายอะไรเยี่ยงนั้น

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged ชีวิตส่วนตัว, ทุนนิยม, ประสบการณ์เรียนต่อ, มหาวิทยาลัย, แรงงาน Leave a comment

อ่าน ผลกระทบต่อต้นทุนแรงงานของ ‘นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท’

Posted on September 2, 2014September 8, 2014 by pokpong

งานวิจัยของ ปกป้อง จันวิทย์ และพรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม (2556) ได้พยายามแสวงหาคำตอบส่วนหนึ่งต่อคำถามสำคัญที่แวดล้อมนโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย เช่น ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ต้นทุนแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำต่อต้นทุนแรงงานทั้งหมดและต้นทุนแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำต่อผลผลิตมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด และการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อต้นทุนแรงงานอย่างไร

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, นโยบาย อัตราค่าจ้าง 300 บาท, บทความเศรษฐกิจการเมือง, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ, แรงงาน Leave a comment

อนาคตของ ‘งาน’

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

ในเศรษฐกิจแห่งอนาคต รูปแบบและเนื้อหาของ “งาน” ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ความสัมพันธ์ทางการผลิตใหม่ และวัฒนธรรมใหม่ บทความนี้จะกล่าวถึงภูมิทัศน์ใหม่ในตลาดแรงงานแห่งอนาคตที่น่าสนใจ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged macrotrends, openbooks, งาน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, อนาคตของงาน, แนวโน้มโลก, แรงงาน Leave a comment

ค่าจ้างเพื่อชีวิต

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

ค่าจ้างเพื่อชีวิตคือ ระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวอย่างสม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีระดับมาตรฐานการครองชีพที่อยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ สามารถธำรงความเคารพนับถือในตัวเอง อีกทั้งเป็นระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานมีหนทางและเวลาว่างเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของสังคม

เป้าหมายสำคัญของค่าจ้างเพื่อชีวิตก็คือ การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กลุ่มแรงงานซึ่งได้รับค่าจ้างในระดับต่ำที่สุด เพื่อสร้างชีวิตที่ดีและเสรีภาพที่แท้จริง ค่าจ้างเพื่อชีวิตมีความแตกต่างจากค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจาก ค่าจ้างขั้นต่ำโดยมากมักถูกกำหนดไว้ต่ำกว่าระดับค่าจ้างเพื่อชีวิต ซึ่งทำให้แรงงานไม่สามารถเติมเต็มเป้าหมายข้างต้นได้ โดยเฉพาะเป็นระดับรายได้ที่ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว หลักการของกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องค่าจ้างเพื่อชีวิตก็คือ ค่าจ้างขั้นต่ำควรสะท้อนระดับค่าจ้างเพื่อชีวิต

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged living wage, macrotrends, openbooks, ค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างเพื่อชีวิต, บทความเศรษฐกิจการเมือง, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ, แรงงาน Leave a comment

จ่ายงาม งานดี

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

คำประกาศของ Ford นับเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาผลประโยชน์ขัดกันข้างต้นของนายจ้าง นอกเหนือจากวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือจ่ายโบนัสตามผลงาน การใช้ระบบแบ่งปันกำไรให้ลูกจ้าง และการประเมินผลงานเพื่อต่อสัญญา

การจ่ายค่าจ้างให้สูงกว่าระดับขั้นต่ำที่แรงงานพึงได้ (ระดับค่าจ้างทางเลือกของเขา) ในแง่หนึ่ง ดูเหมือนว่านายจ้างจะเสียประโยชน์ ในขณะที่ลูกจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสเก็บเกี่ยวส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) แต่ในอีกมุมหนึ่ง ส่วนเกินทางเศรษฐกิจดังกล่าวสะท้อนระดับ “อำนาจ” ของนายจ้างเหนือลูกจ้าง

ส่วนเกินนี้เสมือนเป็นเครื่องบังคับทางอ้อมให้ลูกจ้างต้องขยันทุ่มเททำงานหนัก เพื่อรักษางานนี้ไว้ เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่างานอื่นๆ ความขยันทำงานหนักของลูกจ้างส่งประโยชน์ให้นายจ้างในบั้นปลาย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged open, ค่าจ้าง, ตลาดแรงงาน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ, อำนาจ, เศรษฐกิจมหภาค, แรงงาน, โลกาภิวัตน์ Leave a comment

Sweatshops : ปีศาจร้ายจำเป็น?

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

ปรากฏการณ์สามัญประการหนึ่งภายใต้เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ คือ การที่ผู้คนในประเทศยากจนต้องยอมขายแรงงานราคาถูกให้บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations-MNCs) เพราะไม่มีทางเลือกอื่นในการหาเลี้ยงชีพที่ดีกว่า

ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่ยากไร้ ไร้ทั้งทรัพยากร ไร้ทั้งทางเลือก ก็คือ ยอมถูกขูดรีดกดขี่เอาเปรียบ ดีกว่าตกงานไม่มีอะไรกิน แม้ระบบทุนนิยมจะถูกสรรเสริญว่าเป็นระบบที่ให้คนมีสิทธิ “เลือก” ตามเจตจำนงเสรี แต่การเลือกระหว่างความทุกข์ทนข้นแค้น 2 ทาง จะพูดได้เต็มปากหรือว่านั่นคือการเลือก ?

ในหลายกรณี คนเล็กคนน้อยเหล่านั้นได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเสียอีก มิพักต้องพูดถึงระดับค่าจ้างเพื่อชีวิต (living wages) ซึ่งเป็นระดับค่าจ้างที่สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีระดับมาตรฐานการครองชีพที่อยู่ได้อย่างภาคภูมิในตัวเอง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged sweatshop, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ระบบทุนนิยม, แรงงาน, โรงงานนรก, โลกาภิวัตน์, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

คนอย่างพวกผม

Posted on August 18, 2014October 1, 2014 by pokpong

แม้จะไม่รู้คำนิยามในใจของแท็กซี่คนนั้น แต่ผมคิดว่า “คนอย่างพวกผม” มีจำนวนไม่น้อยในสังคมเศรษฐกิจไทย พบเจอได้ไม่ยากตามโรงงานหรือเขตงานก่อสร้าง

เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่ถูกไล่ออกเป็นลำดับแรก ยามเศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจล้มละลาย เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อความอยู่รอดของนายทุน

เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่ถูกยื่นซองขาวให้ออกจากงาน ยามเศรษฐกิจฟื้นตัว เพื่อแลกกับประสิทธิภาพในการผลิตที่มาพร้อมกับเครื่องจักรนำเข้าที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสะสมทุน

เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่อุทิศตนอย่างไม่เต็มใจ เพื่อเป็นประจักษ์พยานให้นายกรัฐมนตรีสำเหนียกว่า ยังมีคนบางกลุ่มที่ไร้อำนาจต่อรองอย่างสิ้นเชิง จนต้องตกอยู่ในฐานะ “เหยื่อ” ของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะดีหรือเลว

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged open, ความเป็นธรรม, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เศรษฐกิจ, แรงงาน, โลกาภิวัตน์ Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back